Page 18 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 18
การดูแลรักษา
ผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย
การดูแลรักษาบาดแผลทั่วไปก่อนพิจารณาฉีดวัคซีนฯ
1. ปฐมพยาบาลบาดแผลโดยทันที
- ล้างแผลด้วยน�้าฟอกสบู่หลายๆครั้ง ล้างสบู่ออกให้หมด ถ้าแผลลึกให้ล้างถึงก้นแผลอย่างน้อย
15 นาที ระวังอย่าให้แผลช�้า ห้ามใช้ครีมใดๆ ทา
- เช็ดแผลด้วยน�้ายาฆ่าเชื้อ ควรใช้ยาโพวีโดนไอโอดีน (povidone iodine) หรือฮิบิเทนในน�้า
(hibitane in water) ถ้าไม่มีให้ใช้แอลกอฮอล์ 70% หรือทิงเจอร์ไอโอดีน
- ไม่ควรเย็บแผลทันที ควรรอไว้ 2-3 วัน เว้นเสียแต่ว่าเลือดออกมากหรือแผลใหญ่ ควรเย็บหลวมๆ
และใส่ท่อระบายไว้
2. การป้องกันบาดทะยัก
พิจารณาตามลักษณะบาดแผล ประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน และพิจารณาให้
ยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสม
3. การรักษาตามอาการ
ให้ยาแก้ปวดตามความจ�าเป็น
การพิจารณาการตัดสินใจให้วัคซีน
1. การวินิจฉัยภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าจากการสัมผัส
พิจารณาประวัติของการสัมผัส ใช้แบบฟอร์มการซักประวัติผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้า ระดับความเสี่ยง
ต่อการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า แยกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะการสัมผัส ดังตารางที่ 1
แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม 13
โรคพิษสุนัขบ้า