Page 14 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 14
ความไว และความต้านทานต่อการรับเชื้อ
สัตว์เลือดอุ่นที่เลี้ยงลูกด้วยน้�านมทุกชนิดไวต่อโรคนี้ ยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่าคนมีความต้านทานโรคที่
เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
อาการที่พบในสัตว์ มากกว่าร้อยละ 95 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีสาเหตุมาจากสุนัข เพราะสุนัขเป็นสัตว์
เลี้ยงในบ้านที่มีความใกล้ชิด และผูกพันกับคน และมีผู้นิยมเลี้ยงมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น โอกาสที่จะสัมผัสกับสุนัขจึง
มีอยู่ตลอดเวลา
อาการในสุนัข อาการของสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าพบทั้งแบบดุร้าย และแบบซึม โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ
ด้วยกัน คือ
- ระยะเริ่มแรก มีอาการประมาณ 2-3 วัน โดยสุนัขจะมีอารมณ์และอุปนิสัยเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น
สุนัขที่ชอบคลุกคลีกับเจ้าของจะแยกตัวออกไปหลบซุกตัวเงียบๆ มีอารมณ์หงุดหงิด หรือตัวที่เคยขลาดกลัวคน
จะกลับมาคลอเคลีย เริ่มมีไข้เล็กน้อย ม่านตาขยายกว้างกว่าปกติ การตอบสนองต่อแสงของตาลดลง กินข้าว
กินน�้าน้อยลง
- ระยะตื่นเต้น คือ เริ่มมีอาการทางประสาท สุนัขจะกระวนกระวาย ตื่นเต้น ไม่อยู่นิ่ง กัดแทะสิ่งของ
สิ่งแปลกปลอม กัดทุกสิ่งไม่เลือกหน้า ถ้ากักขัง หรือล่ามไว้จะกัดกรงหรือโซ่จนเลือดกบปาก โดยไม่แสดงอาการ
เจ็บปวด เสียงเห่าหอนจะเปลี่ยนไป ตัวแข็ง บางตัวล้มลงชักกระตุก
- ระยะอัมพาต สุนัขจะมีคางห้อยตก ลิ้นมีสีแดงคล�้าห้อยออกนอกปาก น�้าลายไหล และไม่สามารถ
ใช้ลิ้นได้เลย สุนัขอาจแสดงอาการขยอก หรือขย้อนคล้ายมีอะไรอยู่ในล�าคอ ขาอ่อนเปลี้ย ทรงตัวไม่ได้ ล้มลง
แล้วลุกไม่ได้ อาการอัมพาตจะเริ่มจากขาหลังแล้วแผ่ไปทั่วตัวอย่างรวดเร็ว และตายในที่สุด (ภายใน 10 วันหลัง
แสดงอาการ)
สุนัขที่แสดงอาการแบบดุร้าย จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นให้เห็นเด่นชัดและยาวนาน แต่จะแสดง
อาการในระยะอัมพาตสั้นมาก ส่วนสุนัขที่แสดงอาการแบบซึม จะแสดงอาการในระยะตื่นเต้นสั้นมากจนไม่ทัน
สังเกตเห็น แต่จะแสดงอาการในระยะอัมพาตเด่นชัด ซึ่งชนิดซึมจะเป็นอันตรายมาก เนื่องจากวินิจฉัยตามอาการ
ที่แสดงออกได้ยาก จึงท�าให้เจ้าของไปคลุกคลีป้อนยาป้อนอาหารหรือน้�าจนสัมผัสกับน้�าลายหรือถูกกัดได้
การส่งหัวสัตว์ตรวจชันสูตร
1. ถ้าเป็นสัตว์เล็กอย่างกระรอก กระต่าย แมว ส่งชันสูตรได้ทั้งตัว แต่ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่อย่าง สุนัข สุกร
วัว แนะน�าให้น�าส่งปศุสัตว์พื้นที่ซึ่งมีผู้ช�านาญในการตัดหัวสัตว์
2. ผู้ตัดหัวสัตว์จะต้องไม่มีบาดแผลที่มือ และต้องสวมถุงมือยางหรือถุงมือพลาสติกที่กันน�้าได้ขณะ
ท�าการตัด
3. น�าถุงพลาสติกครอบปากสุนัขก่อนลงมือตัด เป็นการป้องกันน�้าลายสุนัขกระเด็น จากนั้นใช้มีดคมๆ
ตัดตรงรอยต่อระหว่างศีรษะกับคอ รวบถุงพลาสติกที่ครอบปากสุนัขไว้ และน�าใส่ลงในถุงพลาสติกหนาๆ อีกชั้น
รัดปากถุงให้แน่น ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หนาๆ ใส่ถุงพลาสติกหนา รวบปากถุงให้แน่น (ห้ามแช่หัวสุนัขใน
ฟอร์มาลิน จะท�าให้เนื้อสมองแข็ง ตรวจไม่ได้)
แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม 9
โรคพิษสุนัขบ้า