Page 12 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 12
ความรู้เกี่ยวกับ
โรคพิษสุนัขบ้า
โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
โรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากสัตว์มาสู่คนที่มีความรุนแรงมาก ผู้ป่วยต้องเสียชีวิตทุกรายเป็นผลมา
จากอาการสมองและไขสันหลังอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว คันบริเวณรอยแผลที่ถูกสัตว์กัด ต่อมาจะ
หงุดหงิด ตื่นเต้นไวต่อสิ่งเร้า (แสง เสียง ลม ฯ) ม่านตาขยาย น�้าลายไหลมาก กล้ามเนื้อคอกระตุกเกร็งขณะที่ผู้ป่วย
พยายามกลืนอาหาร หรือส�าลักเวลาดื่มน�้า ท�าให้เกิดอาการ “กลัวน�้า” เพ้อคลั่ง สลับกับอาการสงบ ชัก ระยะสุดท้าย
ผู้ป่วยจะเกิดอาการอัมพาต โดยแขนขาอ่อนแรง กรณีไม่ได้รับการรักษาประคับประคอง มักป่วยอยู่ประมาณ 2-6
วัน และเสียชีวิตเนื่องจากอัมพาตของกล้ามเนื้อระบบทางเดินหายใจ
สาเหตุของโรค
เกิดจากเชื้อไวรัส Rabies เป็น Rhabdovirus ใน genus “Lyssa virus” ซึ่งไวรัสทุกตัวใน genus นี้มี
antigenicity ที่คล้ายคลึงกัน แต่จากการทดสอบด้วย Monoclonal antibody พบว่าไวรัสแต่ละตัว มี nucleo-
capsid และรูปแบบของ surface protein ที่อาจแตกต่างกันในสัตว์แต่ละชนิด หรือในแต่ละภูมิภาคของโลก
มีรายงานว่าเชื้อไวรัสที่คล้ายกับไวรัสพิษสุนัขบ้า ซึ่งพบในทวีปอัฟริกา (เชื้อไวรัส Mokola และ Duvenhage) และ
ในทวีปยุโรป (เชื้อไวรัส Duvenhage) ท�าให้เกิดอาการเจ็บป่วยคล้ายโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งในบางครั้งเมื่อตรวจด้วย
FA test จะให้ผลบวกด้วยเช่นกัน แต่โรคเหล่านี้พบไม่บ่อยนัก
การระบาดของโรค
การระบาดของโรคส่วนใหญ่อยู่ในประเทศด้อยพัฒนา หรือก�าลังพัฒนา คาดว่ามีผู้เสียชีวิตปีละกว่า
55,000 คน ในประเทศไทยผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงตามล�าดับจาก 370 คนในปี พ.ศ. 2523 เป็น 30 คนในปี
พ.ศ. 2545 และ 14 คน ในปี 2559 พบมากในภาคกลาง โรคพิษสุนัขบ้าในทวีปเอเชียมักมีสุนัขเป็นสัตว์น�าโรคที่
ส�าคัญ ปัจจุบันในทวีปยุโรปยังมีปัญหาในสัตว์ป่า เช่น สุนัขจิ้งจอก ซึ่งหลังจากมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัข
บ้าชนิดกิน (Oral rabies vaccine) ท�าให้อุบัติการณ์ของโรคลดลงไปมาก โดยเฉพาะสวิตเซอร์แลนด์ สามารถ
ก�าจัดโรคไปได้ในปี ค.ศ. 1986 แต่ยังมีรายงานโรคนี้ในค้างคาวในเดนมาร์ค เนเธอร์แลนด์ และเยอรมันตะวันตก
ส่วนในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ยังมีปัญหาโรคนี้ในสัตว์ป่า เช่น สกั๊งค์ แรคคูน และค้างคาว
แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม 7
โรคพิษสุนัขบ้า