Page 16 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 16
1.2 Phobic spasms ได้แก่ อาการกลัวน�้า กลัวลม ลักษณะทั้ง 2 ประการ อาจไม่พบร่วมกัน และ
ไม่จ�าเป็นที่จะต้องมีภาวะการเกร็งตีบของกล่องเสียง (laryngeal spasms) อาการกลัวน�้า ลม จะเห็นได้ชัดขณะ
ที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวเท่านั้น เมื่อผู้ป่วยเริ่มซึมอาการเหล่านี้จะหายไป แต่ผู้ป่วยจะมีอาการถอนหายใจเป็นพักๆ (inspira-
tory spasms) ซึ่งเกิดขึ้นเอง และเป็นอาการส�าคัญซึ่งช่วยในการวินิจฉัย
1.3 Autonomic stimulation ได้แก่ อาการขนลุกเป็นบางส่วนหรือทั้งตัว รูม่านตา มีสภาพ
ไม่ตอบสนองต่อแสง และอาจขยายเต็มที่หรือหดตัวเต็มที่เป็นระยะสั้นๆ และที่ส�าคัญคือ น�้าลายมากผิดปกติ
จนต้องบ้วนหรือถ่มเป็นระยะ
นอกจากนั้น อาการคันเฉพาะที่ตรงที่ถูกสัตว์กัดในรูปของคัน ปวดแสบร้อน ปวดลึกๆ ซึ่งแพร่กระจาย
ไปทั่วแขน ขา หรือหน้าซีกที่ถูกกัด (local neuropathic symptoms) ก็อาจจะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยได้
อย่างไรก็ตาม พึงระวังที่จะไม่ใช้อาการเฉพาะที่อย่างเดียวในการให้การวินิจฉัย ยกเว้นแต่จะประกอบด้วยข้อมูล
ทางห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้
การวินิจฉัยแยกโรค : อาการของ furious rabies อาจจะคล้ายคลึงกับผู้ป่วย ซึ่งได้รับสารบางชนิด
ที่มีฤทธิ์คล้าย atropine, สารเสพติด รวมทั้งกัญชา สุรา และสารในกลุ่ม amphetamine และโรคบาดทะยัก
- ลักษณะของผู้ป่วยที่ได้รับสารหรือวัตถุออกฤทธิ์ทางจิตจะขาดอาการหลักทั้ง 3 ประการ ดังกล่าว
ข้างต้น ผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาต่อยาต้านซึมเศร้า เช่น ยาในตระกูล serotonin-reuptake inhibitor อาจมีอาการ
ทางจิตจนกระทั่งซึมไม่รู้ตัว หรือมีอาการชักร่วม (serotonin syndrome)
- ผู้ป่วยโรคบาดทะยักจะมีอาการเกร็งตลอดเวลา โดยเฉพาะกล้ามเนื้อล�าตัว ท้อง หลัง และอ้าปาก
ไม่ขึ้น อาการกระตุกในบาดทะยัก (reflex spasms) อาจคล้ายคลึงกับอาการผวาในโรคพิษสุนัขบ้า แต่อาการ
เกร็งตลอดเวลาของล�าตัวดังกล่าวแล้ว และขากรรไกรแข็งจะไม่พบในโรคพิษสุนัขบ้า
- Porphyria มีอาการคล้ายคลึงกับ furious รวมทั้ง dumb rabies โดยมีอาการทางสมอง ทางจิต
และมีแขน ขาอ่อนแรงในระยะหลัง แต่จะไม่มีอาการกลัวน�้า กลัวลม หรืออาการหลักอื่น ๆ ผู้ป่วยเหล่านี้จะมี
ปัสสาวะเป็นสีเข้มเมื่อถูกแสงแดดหรือเมื่อหยดกรดเกลือ หรือกรดไนตริกเข้มข้นลงไป
2. Dumb หรือ Paralytic rabies : (อาการแบบอัมพาต)
ระยะการด�าเนินโรคช้า โดยเฉลี่ยเสียชีวิต ใน 13 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการ รวมทั้งลักษณะของการตรวจ
คลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อและกระแสประสาท คล้ายคลึงกับผู้ป่วย ซึ่งมีเส้นประสาทอักเสบ (Guillain Barre
syndrome-GBS) กล่าวคือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงลามขึ้นจากขาไปยังแขนและลามไปทั่วตัว โดยอ่อนแรงบริเวณ
ต้นแขน ขา ทั้งซีกซ้ายและขวาพอๆ กัน ส่วนมากพบกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงทั้ง 2 ด้าน (facial palsy) ร่วมด้วยกับ
deep tendon reflex หายไปเมื่ออาการมากขึ้นจะหายใจไม่ได้
2.1 ลักษณะของ dumb rabies ที่ต่างออกไปจาก Guillain Barre syndrome (GBS) คือ
1. ไข้ในผู้ป่วย dumb rabies จะพบมีอาการไข้ตั้งแต่ต้น โดยที่ผู้ป่วย (GBS) จะไม่มีไข้ ยกเว้น
แต่ว่ามีภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อในปอด ทางเดินปัสสาวะ
2. การตรวจระบบรับความรู้สึก (sensory system) ยังเป็นปกติทั้งการตรวจ pinprick, joint
หรือ vibration sense ยกเว้นบางรายอาจมีความผิดปกติบริเวณมือหรือเท้า หรือหน้าข้างที่ถูกกัดใน GBS อาจพบ
ความผิดปกติดังกล่าวได้บ้างไม่มากก็น้อย
แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม 11
โรคพิษสุนัขบ้า