Page 13 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 13

สัตว์น�าโรค
                        สัตว์น�าโรค โรคนี้เป็นในสัตว์เลือดอุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดทั้งสัตว์เลี้ยง

               และสัตว์ป่า เช่น สุนัข แมว สุนัขจิ้งจอก สุนัขป่า หมาไน สกั๊งค์ แรคคูน พังพอน และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ
               ในเม็กซิโก อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ มีค้างคาวดูดเลือด ค้างคาวกินผลไม้ และค้างคาวกินแมลง เป็นสัตว์น�าโรค

               ในประเทศก�าลังพัฒนา สุนัขเป็นแหล่งรังโรคที่ส�าคัญ กระต่าย กระรอก หนูแร็ท และหนูไมซ์ อาจติดเชื้อได้ แต่พบ
               ไม่บ่อยนักในประเทศไทยสุนัขเป็นสัตว์น�าโรคหลัก รองลงมาเป็นแมว



                        วิธีการติดต่อของโรค

                        เชื้อไวรัสออกมากับน้�าลายสัตว์ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะเข้าสู่ร่างกายคนทางบาดแผลที่สัตว์กัดหรือข่วน
               บางครั้งพบว่าเชื้อสามารถเข้าทางบาดแผลตามผิวหนังที่ยังไม่หาย หรือเข้าทางเยื่อบุตา ปาก จมูก ที่ไม่มีแผล

               หรือรอยฉีกขาดได้
                        การติดต่อจากคนถึงคน ตามทฤษฎีแล้วสามารถเกิดได้เนื่องจากมีการพบเชื้อ virus ในน�้าลายและ

               สารคัดหลั่งของผู้ป่วย การติดต่อจากคนสู่คนโดยธรรมชาติยังไม่เคยมีรายงานยืนยันที่แน่ชัด นอกจากโดยการกระท�า
               ของแพทย์จากการปลูกถ่ายอวัยวะต่างๆ เช่น กระจกตา ตับอ่อน จากผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งเคยพบติด

               จากการปลูกถ่ายกระจกตาในประเทศไทย 2 ราย และการปลูกถ่ายอวัยวะอื่นๆ ในอีกหลายประเทศ การติดต่อ
               โดยการหายใจโอกาสพบน้อยมากต้องมีไวรัสเข้มข้นในบรรยากาศ จึงจะติดต่อได้ ซึ่งมีรายงานการติดต่อทางระบบ

               ทางเดินหายใจในถ�้าค้างคาว และมีรายงานการติดเชื้อในห้องปฏิบัติการในประเทศฝรั่งเศสขณะเตรียมการผลิต
               วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เป็นอุบัติเหตุท�าให้เชื้อไวรัสกระจายจากเครื่อง centrifuge สู่บรรยากาศใน

               ห้องปฏิบัติการ ซึ่งผู้ท�างานไม่ได้ใช้มาตรการการป้องกันที่ดีพอ มีรายงานการติดโรคจากค้างคาวดูดเลือด ส่วนใหญ่
               พบในลาตินอเมริกา ส�าหรับในสหรัฐอเมริกามีรายงานการติดโรคมาสู่คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยค้างคาว

               กินแมลงแต่พบได้น้อย



                        ระยะฟักตัว
                        ระยะฟักตัวคือระยะเวลาที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายจนเกิดอาการ ส่วนใหญ่ประมาณ 2-8 สัปดาห์ แต่อาจสั้นเพียง

               7 วัน หรือยาวนานเกินกว่า 1 ปี ระยะฟักตัวจะสั้นหรือยาวขึ้นกับปัจจัยบางประการ ได้แก่ ปริมาณของเชื้อไวรัส
               ความรุนแรงของบาดแผล ปริมาณของปลายประสาทที่ต�าแหน่งของแผล และระยะทางจากแผลไปยังสมอง เช่น

               แผลที่หน้า ศีรษะ คอ และมือ จะมีระยะฟักตัวสั้น การรับเชื้อโดยการถูกกัดผ่านเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม หรือการ
               ล้างแผลทันทีจะมีส่วนช่วยลดจ�านวนเชื้อลงได้มาก การล้างแผลให้สะอาดด้วยน้�าและสบู่ล้างให้ถึงก้นแผล ล้างสบู่

               ออกให้หมดโดยใช้เวลาล้างแผล 15 นาที  แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อจะช่วยลดอัตราการเกิดโรคได้ถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์



                        ระยะติดต่อของโรค
                        สุนัข และแมวอาจแพร่เชื้อได้ 1-7 วัน ก่อนเริ่มแสดงอาการป่วย (พบน้อยมากที่จะเร็วกว่า 3 วัน) และ

               ตลอดเวลาที่สัตว์ป่วย อย่างไรก็ตามตั้งแต่มีเชื้อไวรัสในน้�าลายจนถึงตาย รวมแล้วจะไม่เกิน 10 วัน ในสัตว์ป่า เช่น
               ค้างคาว และสกั๊งค์ มีรายงานการปล่อยเชื้อในน้�าลายได้เร็วถึง 8–18 วัน ก่อนแสดงอาการ





          8  แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม
               โรคพิษสุนัขบ้า
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18