Page 20 - แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าปี 60
P. 20

2. วิธีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
                          2.1 การฉีดวัคซีนหลังสัมผัสโรค
                              2.1.1 การฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular, IM)

                                      ฉีดวัคซีน  HDCV, PCECV, PDEV 1 ml หรือ PVRV 0.5 ml เข้ากล้ามเนื้อต้นแขน
               (deltoid) หรือถ้าเป็นเด็กเล็กฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าขาด้านนอก (anterolateral)

                                      ห้ามฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพก เพราะวัคซีนจะดูดซึมช้า ท�าให้กระตุ้นภูมิคุ้มกันไม่ดี
                                      ฉีดวัคซีนครั้งละ 1 โด๊ส ในวันที่ 0, 3, 7, 14 และ 30
                              2.1.2 การฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal, ID) ใช้ได้กับวัคซีน PVRV, PCECV หรือ HDCV

               ขณะนี้แนะน�าให้ฉีดได้  2  แบบคือ
                                    (1) การฉีดแบบ 2-2-2-0-1-1

                                      -  ฉีดวัคซีนจุดละ 0.1 ml. โดยฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนังบริเวณต้นแขนซ้ายและขวา
               ข้างละ 1 จุด ในวันที่ 0, 3, 7 และฉีดที่ต้นแขน 1 จุด ในวันที่ 30 และ 90
                                    (2) การฉีดแบบ 2-2-2-0-2

                                      -  ฉีดวัคซีนจุดละ 0.1 ml. โดยฉีดวัคซีนเข้าในผิวหนังบริเวณต้นแขนซ้ายและขวา
               ข้างละ 1 จุด ในวันที่ 0, 3, 7 และ 30

                          2.2 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้า (Pre-exposure immunization)ผู้ที่มีโอกาสสัมผัส
               เชื้อพิษสุนัขบ้า เช่น สัตวแพทย์ ผู้ท�างานในห้องปฏิบัติการหรือเดินทางเข้าไปในถิ่นที่มีโรคพิษสุนัขบ้าชุกชุม ควร
               ได้ รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และฉีดวัคซีนกระตุ้นซ�้าเมื่อสัมผัสโรค

                              -  ฉีดวัคซีน HDCV, PCECV หรือ PDRV ใช้ปริมาณ 1 ml หรือถ้าฉีดวัคซีน PVRV ใช้ปริมาณ
               0.5 ml เข้ากล้ามเนื้อ (IM) 1 เข็ม หรือ ขนาด 0.1 ml. 1 จุดเข้าในผิวหนัง (ID) บริเวณต้นแขน (deltoid) ในวัน

               ที่  0, 7 และ 21 หรือ 28
                        3. การปฏิบัติต่อผู้สัมผัสที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
                          โดยก�าหนดผู้สัมผัสที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนครอบคลุมถึง

                             ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนหลังสัมผัสโรคครบชุด หรืออย่างน้อย 3 ครั้ง
                             ผู้ที่เคยได้รับวัคซีนป้องกันล่วงหน้าครบ 3 ครั้ง

                          ถ้าถูกกัดภายหลังการฉีดล่วงหน้าภายใน 6 เดือน ให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ ครั้งเดียว ในวันแรก
               หรือในผิวหนัง 1 จุด ในขนาด 0.1 ml. ครั้งเดียว ในวันแรก
                          แต่ถ้าถูกกัด (สัมผัส) ภายใน 6 เดือนขึ้นไป ให้ฉีด 2 ครั้ง ในวันที่ 0 และ 3 แบบ เข้ากล้ามเนื้อหรือ

               ในผิวหนัง ครั้งละ 1 จุด ในขนาด 0.1 ml.
                        4. การให้อิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (RIG) แก่ผู้สัมผัสโรค

                          อิมมูโนโกลบุลินป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่มีใช้ในประเทศไทย 2 ชนิด
                          1.  ชนิดผลิตจากซีรั่มม้า (Equine Rabies Immunoglobulin, ERIG)  ขนาดบรรจุ : 5 ml
               (1000 IU) ขนาดที่ใช้ : 40 IU/kg.

                          2.  ชนิดผลิตจากซีรั่มคน (Human Rabies Immunoglobulin, HRIG) ขนาดบรรจุ : 2 ml
               (300 IU) 5 ml. (750 IU) ขนาดที่ใช้ : 20 IU/kg.



                                                                                   แนวทางการดำาเนินงานป้องกันควบคุม  15
                                                                                         โรคพิษสุนัขบ้า
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25