Page 14 - ทักษะการเรียนรู้
P. 14
4
เรื่องที่ 2 การก าหนดเป้ าหมาย และการวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
การก าหนดเป้ าหมายในการเรียนรู้ด้วยตนเองมีลักษณะอย่างไร
การปฏิบัติการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช
2551 ที่มีประสิทธิภาพ และให้ประสบความส าเร็จได้นั้น ขึ้นอยู่กับการที่ผู้เรียน ได้ก าหนดเป้ าหมายในการ
เรียนรู้ของตนเองแล้วหรือยัง และที่ส าคัญเป้ าหมายในการเรียนรู้ดังกล่าว ต้องมีความชัดเจนด้วย
ส าหรับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น ทุกคนย่อมมีเป้ าหมายในการศึกษาคล้ายคลึงกัน
คือ เพื่อให้ได้รับความรู้ การส าเร็จการศึกษา การพัฒนาอาชีพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน แต่
เป้ าหมายดังกล่าวนั้นเป็นเป้ าหมายระยะยาวที่จะให้เกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น ผู้เรียนที่ต้องการให้ตนเอง
ประสบความส าเร็จในการเรียน จึงควรแบ่งเป้ าหมายระยะยาว ออกเป็นเป้ าหมายระยะสั้นหรือเป้ าหมายย่อย ๆ
ที่ก าหนดให้แต่ละช่วงเวลา ของการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีความต่อเนื่องกัน
เป้าหมายในการเรียนรู้ ของแต่ละบุคคลนั้น เปรียบเสมือนกับ การเดินทางจากสถานที่แห่งหนึ่งไปยัง
สถานที่อีกแห่งหนึ่งนั้น อาจจะมีเส้นทางของการเดินทางให้เลือกเดินได้หลายเส้นทาง ที่ผู้เดินทางสามารถ
ที่จะเลือกเดินตามเส้นทางที่ตนเลือกได้
การวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ควรท าอย่างไร
การเรียนรู้ ตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 นั้น
ผู้เรียนจะต้องลงทะเบียนเรียนเป็นรายวิชา ซึ่งครอบคลุมทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือกตามโครงสร้างหลักสูตร
คือ จะต้องเรียนวิชาบังคับ จ านวน 36 หน่วยกิต วิชาเลือก วิชาเลือก จ านวน 12 หน่วยกิต รวมทั้งหมด 48
หน่วยกิต และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) จ านวน 200 ชั่วโมง ทั้งนี้ ในแต่ละภาคเรียน ผู้เรียน
สามารถลงทะเบียนได้ภาคเรียนละไม่เกิน 14 หน่วยกิต การที่จะศึกษาให้จบหลักสูตรได้ อย่างมีคุณภาพนั้น
ผู้เรียนจึงมีความจ าเป็นในการที่จะวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีความรับผิดชอบในการ
เรียนรู้ของตน
ดังนั้น ผู้เรียนควรพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ประกอบในการวางแผนการเรียนรู้ของตนดังนี้