Page 26 - แห่งการเรียนรู้ นิทรรศรัตนโกสินทร์
P. 26
งานช่างประดับมุกคือ งานศิลปหัตถกรรมที่มีมาแต่โบราณเป็นนาน ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มใน
สมัยใด แต่มีผลงานที่มีการใช้วิธีการฝังมุกประดับเป็นลวดลายตกแต่งบนปูนปั้นที่เจดีย์ในสมัยทวาราวดี ในสมัย
เชียงแสนมีการฝังมุกที่พระเนตรของพระพุทธรูป และมีหลักฐานการประดับมุกหลายอย่างในสมัยอยุธยา
ประเทศใกล้เคียงที่มีวิธีการประดับมุกคล้ายของไทย คือจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม มุกที่น ามาประดับลวดลายคือ
เปลือกหอยทะเลที่มีประกายสีรุ้ง เป็นเปลือกหอยมุกมีสีวาววาม เช่น หอยนมสาว หอยจอบ หอยอูด เป็นต้น
งานประดับมุกเป็นงานประณีตศิลป์ที่อาศัยความประณีตบรรจงมากที่สุดแขนงหนึ่ง ใช้ความประณีต
และมีระยะเวลาในการท างาน งานมุกของไทยใช้วิธีการตัดเปลือกหอยมุก ประดับเป็นลวดลาย เรียงลงบน
พื้นผิวที่ต้องการ จากนั้นจึงถมด้วยรักและขัดให้เรียบ อีกทั้งงานประดับมุกมีความคงทนอย่างยิ่ง
การประดับมุกนิยมประดับเป็นลวดลายบนภาชนะของสงฆ์และพระมหากษัตริย์ เครื่องเรือน เครื่องใช้
ส าหรับชนชั้นสูง ได้แก่ ตู้พระมาลัย ธรรมาสน์ ตะลุ่ม พานแว่นฟ้า ฝาบาตร กล่องใส่หมากพลู
นอกจากนี้การประดับมุกยังใช้ในการตกแต่งศิลปวัตถุ ส าหรับในงานสถาปัตยกรรมใช้การประดับมุกกับ
ศาสนสถานเท่านั้น เช่น บานประตู หอพระมณเฑียรธรรม บานประตูมณทป บานประตูพระอุโบสถ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นฝีมือช่างอยุธยาตอนปลายมสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ยังคงงดงาม
แม้ผ่านกาลเวลานานนับร้อยปี
โดยงานประดับมุกลวดลายจะนิยมใช้ลายไทย เช่น ลายกนก ลายประจ ายามก้ามปู ลายพุ่มทรงข้าว
บิณฑ์ ลายกระจัง ลายก้านขด หรือลวดลายที่เป็นเรื่องจากวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์ ซึ่งช่างประดับมุกจะต้องมี
ความช านาญออกแบบลวดลายให้เหมาะสมสัมพันธ์กับรูปทรงของภาชนะหรือบริเวณว่างที่ต้องใช้ลวดลายมุก
ประดับ ให้มีความสวยงามกลมกลืนกัน
12-25