Page 28 - แห่งการเรียนรู้ นิทรรศรัตนโกสินทร์
P. 28

สถาปนาที่สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี)    ธิดาในตระกูลเศรษฐีมอญที่มีรกรากอยู่ที่บ้านอัมพวา   เมือง


               สมุทรสงคราม


                       หลังจากการฉลองวัดพระแก้วแล้ว ก็ทรงป่วยด้วยพระโรคชรา พระอาการทรุดลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่ง

               เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ รวมพระชนมายุได้ 73 พรรษา เสด็จ

               อยู่ในราชสมบัติ 27 ปี


                       พระบรมศพถูกเชิญลงสู่พระลองเงินประกอบด้วยพระโกศทองใหญ่แล้วเชิญไปประดิษฐานไว้  ณ  พระ

               ที่นั่งดุสิตมหาปราสาท  ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร  ตั้งเครื่องสูงและเครื่องราชูปโภคเฉลิมพระเกียรติยศตาม

               โบราณราชประเพณี  พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม  โคมกลองชนะตามเวลา  ดังเช่นงานพระบรมศพพระเจ้า

               แผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาทุกประการ จนกระทั่ง พ.ศ. 2354 พระเมรุมาศซึ่งสร้างตามแบบพระเมรุมาศส าหรับ

               พระเจ้าแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยาได้สร้างแล้วเสร็จ   จึงเชิญพระบรมโกศจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้น

               ประดิษฐาน ณ พระเมรุมาศ แล้วจักให้มีการสมโภชพระบรมศพเป็นเวลา 7 วัน 7 คืน จึงถวายพระเพลิงพระ

               บรมศพ  หลังจากนั้น  มีการสมโภชพระบรมอัฐิและบ าเพ็ญพระราชกุศล  เมื่อแล้วเสร็จจึงเชิญพระบรมอัฐิ

               ประดิษฐาน  ณ  หอพระธาตุมณเฑียร  ภายในพระบรมมหาราชวัง  ส่วนพระบรมราชสรีรางคารเชิญไปลอย

               บริเวณหน้าวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร


                       การสถาปนากรุง



                       พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช       ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร        (หรือกรุง

               รัตนโกสินทร์)  เป็นราชธานี  และทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีปกครองราชอาณาจักรไทยเมื่อ  6  เมษายน  พ.ศ.

               2325 (วันจักรี)ภายหลังการเสด็จเสวยราชย์แล้ว พระองค์ทรงมีพระราชกรณีกิจที่ส าคัญยิ่ง คือ


               การป้องกันราชอาณาจักรให้ปลอดภัยและทรงฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยอันเป็นมรดกตกทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

               และอยุธยา  การที่ไทยสามารถปกป้องการรุกรานของข้าศึกจนประสบชัยชนะทุกครั้ง  แสดงให้เห็นถึงความ

               เข้มแข็งของพระองค์ในการบัญชาการรบอย่างมีประสิทธิภาพ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสงครามกับพม่าใน  พ.ศ.

               2328  ที่เรียกว่า  "สงครามเก้าทัพ"  นอกจากนี้พระองค์ยังพบว่ากฎหมายบางฉบับที่ใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยาไม่มี

               ความยุติธรรม  จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการตรวจสอบกฎหมายที่มีอยู่ทั้งหมด  เสร็จแล้วให้เขียนเป็น

               ฉบับหลวง 3 ฉบับ ประทับตราราชสีห์ คชสีห์ และบัวแก้วไว้ทุกฉบับ เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง" ส าหรับ

               ใช้เป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง





                                                         13-27
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33