Page 61 - แห่งการเรียนรู้ นิทรรศรัตนโกสินทร์
P. 61
นาฏยศัพท์ ท่าโกรธ
นาฎศิลป์ไทยเป็นการเล่นเครื่องดนตรีแปลกๆ ชนิดการละครฟ้อนร าและดนตรีอันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์
นาฏะหรือนาฏยะก าหนดว่า ต้องประกอบไปด้วยศิลปะ 3 ประการ คือ การฟ้อนร า การดนตรี และการขับร้อง
รวมเข้าด้วยกัน ซึ่งทั้ง 3 สิ่งนี้ เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกด าบรรพ์ นาฏศิลป์ไทยมีที่มาและเกิดจากสาเหตุแนวคิด
ต่างๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ไม่ว่าจะอารมณ์แห่งสุข หรือความทุกข์และสะท้อน
ออกมาเป็นท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นท่าทางลีลาการฟ้อนร าภาษาท่าทางนาฏศิลป์
หรือนาฏยศัพท์
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ในชีวิตประจ าวันทุกวันนี้มนุษย์เราใช้ท่าทางประกอบการพูดหรือบางครั้งมีการ
แสดงสีหน้า ความรู้สึก เพื่อเน้นความหมายด้วยในทางนาฏศิลป์ ภาษาท่าเสมือนเป็นภาษาพูด โดยไม่ต้องเปล่ง
เสียงออกมา แต่อาศัยส่วนประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง โดยเลียนแบบท่าทางธรรมชาติ
เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ เช่น ท่าโกรธ เป็นการใช้ฝ่ามือข้างใดข้างหนึ่งถูที่ก้านคอใต้ใบหูไปมา แล้วกระชากลง
ถ้ากระชากเบาๆก็เพียงเคืองใจ แต่ถ้ากระชากแรงๆพร้อมทั้งกระทีบเท้าลงกับพื้นแสดงว่าโกรธจัด
35-60