Page 56 - แห่งการเรียนรู้ นิทรรศรัตนโกสินทร์
P. 56
"การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่ก็แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียที
แก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิด ควรจะเรียนเอาไว้ก็ให้เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปเสียทีเดียว
ทุกวันนี้คิดสละห่วงใยได้หมด อาลัยแต่วัดวา สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็มี ถ้าช ารุดทรุดโทรมไปจะไม่
มีผู้ช่วยท านุบ ารุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายในราชการแผ่นดินมีอยู่ 40,000 ชั่งนี้ ขอสัก 10,000 ชั่งเถิดให้
ไว้บ ารุงวัดวาที่ยังค้างอยู่"
จากพระราชด ารัสดังกล่าวแสดงถึงพระวิสัยทัศน์ที่ยาวไกลของรัชกาลที่ 3 ทรงเห็นภัยคุกคามเอกราช
สยามจากชาติตะวันตกในยุคนั้น ทรงห่วงใยบ้านเมืองและวัดวาอารามที่ทรงสร้างขึ้นไว้ให้เป็นศรีสง่าแก่
บ้านเมืองพระราชด ารัสของรัชกาลที่ 3
เหรียญที่อยู่ในเงินถุงแดง
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการติดต่อการค้ากับต่างประเทศ สื่อที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนและใช้ใน
ระบบเศรษฐกิจและการค้าขายระหว่างประเทศ จึงน่าจะเป็นเงินเหรียญต่างประเทศที่มีการยอมรับกันในยุคนั้น
ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีเงินต่างประเทศ เช่น เงินเม็กซิโก เงินเปรู และเงินรูปีของอินเดีย เป็นต้น เป็นที่ยอมรับใน
การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากันอยู่ในเมืองไทยแล้ว แม้ว่าสื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้าของไทยในสมัยรัชกาลที่ 3
จะเป็นเงินพดด้วงก็ตาม สันนิษฐานว่าเงินในถุงแดงน่าจะเป็นเงินต่างประเทศที่ใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนใน
สมัยนั้น ดังเช่น เหรียญรูปนกของเม็กซิโก ซึ่งใช้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนสินค้าที่หลายชาติให้การยอมรับใน
สมัยนั้น เหรียญนกเม็กซิโก มีลักษณะเป็นเหรียญกลมแบนมีรูปนกอินทรีย์อยู่ด้านหนึ่ง (รูปนกอินทรีย์กางปีก
ปากคาบอสรพิษ เป็นสัญลักษณ์ของประเทศเม็กซิโก) ไทยจึงเรียก "เหรียญนก"
นอกจากนี้จากข้อสันนิษฐานที่เชื่อว่าเหรียญนกเม็กซิโกเป็นเหรียญเงินในถุงแดง เนื่องจากเหรียญนก
เม็กซิกันที่พบเป็นรูปพิมพ์ มีความพิเศษที่พิมพ์ก ากับปี ค.ศ.1821-1921 (พ.ศ.2364-2464) ไว้ว่าเป็นที่ระลึก
เมื่อครบรอบหนึ่งศตวรรษที่น าออกใช้ เหรียญดังกล่าวน่าจะเป็นเหรียญเงินที่ใช้ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.
2367-2394) สอดคล้องกับหลักฐานเอกสารฝรั่งเศสที่กล่าวถึงเงินค่าปรับสงครามของไทยที่ช าระด้วยเหรียญ
เม็กซิกัน ในเอกสารฝรั่งเศสที่กล่าวถึงเงินเม็กซิกันที่บรรทุกมาใส่เรือมาจากสยามในเหตุการณ์ ร.ศ.112 มี
น้ าหนักประมาณ 23 ตัน
วิกฤตเหตุการณ์ ร.ศ.112
ไทยต้องจ่ายค่าปรับแก่ฝรั่งเศสภายใน 48 ชั่วโมง มิฉะนั้นจะเสียดินแดน เหตุการณ์ วิกฤตการณ์
ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) สมัยรัชกาลที่ 5 ถือได้ว่าเป็นหนึ่งเหตุการณ์ที่ไทยเกือบเสียเอกราชมากที่สุด เมื่อจักรวรรดิ
นิยมฝรั่งเศส ได้ขยายอิทธิพลเข้ามา ในวันที่ 13 กรกฏาคม ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) เรือรบฝรั่งเศสก็ได้ชัยชนะ รุก
ผ่านเข้าปากแม่น้ าเจ้าพระยา เทียบท่าอยู่หน้าสถานทูตฝรั่งเศสในพระนครได้ส าเร็จ และได้หันปืนใหญ่น้อยบน
32-55