Page 1429 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1429
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชท้องถิ่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตมะเม่าพื้นที่จังหวัดสกลนคร
3. ชื่อการทดลอง การสำรวจ รวบรวม และศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของมะเม่าในเขต
เทือกเขาภูพาน
Survey, Collection and Classification of Mamao (Antidesma
spp.) Varieties in Phu Phan Mountain Range
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน วีระวัฒน์ ดู่ป้อง จุฑามาส ศรีสำราญ 1/
ศิริรัตน์ เถื่อนสมบัติ บุญเชิด วิมลสุจริต 1/
1/
2/
ญาณิน สุปะมา ศักดิ์สิทธิ์ จรรยากรณ์ 2/
5. บทคัดย่อ
การสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกมะเม่าบริเวณเทือกเขาภูพาน จัดทำแบบสอบถามเพื่อจัดเก็บข้อมูล
เกษตรกรผู้ปลูกมะเม่าพร้อมทั้งคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายและจัดทำบัญชีรายชื่อเกษตรกร โดยรวบรวมจาก
แบบสำรวจและจากสมาชิกชมรมผู้ปลูกมะเม่าในจังหวัดสกลนคร โดยสุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกมะเม่า
จำนวน 60 ราย อายุต้นมะเม่าอยู่ระหว่าง 5 - 15 ปี ผลผลิตออกในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม จากผล
การรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำรวจของมะเม่า พบว่าการเรียกชื่อสายต้นมะเม่าเรียกตามที่อยู่อาศัยและ
สภาพพื้นที่ของเกษตรกรนิยมปลูกเป็นหลัก เช่น พันธุ์ฟ้าประทาน คำไหล วังขุมปูน ภูโซง ดงหลวง
เพชรหนองแซง ภูพานทอง สร้างค้อ 1 สร้างค้อ 2 ลมพัด แสนโฮม มหาชนก และพันธุ์พื้นเมือง เป็นต้น
ซึ่งสามารถจัดกลุ่มหลักๆ โดยแบ่งออกตามลักษณะทางกายภาพใบที่มีลักษณะต่างกัน ได้ 2 กลุ่ม คือ
ใบแหลมยาวประกอบด้วย 10 สายต้น และใบกว้างมนประกอบด้วย 7 สายต้น
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
จากผลการสำรวจ รวบรวม และศึกษาลักษณะประจำพันธุ์ของมะเม่าในเขตเทือกเขาภูพาน
เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการทำงานทดลองสืบค้น รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเกษตรกรที่มีความสนใจ
สามารถนำไปใช้ในงานด้านอื่นๆ ต่อไป
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3
2/ 1362