Page 1430 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1430
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชท้องถิ่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตมะเม่าพื้นที่จังหวัดสกลนคร
3. ชื่อการทดลอง การจัดชั้นมาตรฐานคุณภาพของหมากเม่า
Quality Classification of Mamao (Antidesma spp.)
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน วีระวัฒน์ ดู่ป้อง จุฑามาส ศรีสำราญ 1/
ศิริรัตน์ เถื่อนสมบัติ บุญเชิด วิมลสุจริต 1/
1/
2/
ญาณิน สุปะมา ศักดิ์สิทธิ์ จรรยากรณ์ 2/
5. บทคัดย่อ
การจัดชั้นมาตรฐานคุณภาพของมะเม่า โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตมะเม่าสดในเทือกเขาภูพาน
เก็บรวบรวมข้อมูลสายพันธุ์มะเม่า แล้วคัดเลือกที่มีลักษณะดีเด่น โดยคัดเลือกตามลักษณะการ
เจริญเติบโตที่ดี การให้ผลผลิตสูง คุณภาพในการนำไปแปรรูปมะเม่าเป็นที่ต้องการของตลาด และ
ขยายพันธุ์ได้ง่าย ออกแบบบันทึกลักษณะทางกายภาพและคุณภาพของมะเม่า สุ่มเลือกแปลงปลูก
กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร เพื่อสำรวจข้อมูลลักษณะด้านกายภาพ และคุณภาพผลผลิตมะเม่า
สุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตมะเม่าสด บันทึกลักษณะกายภาพและคุณภาพผลมะเม่าตามแบบบันทึก เช่น ช่อดอก
ช่อผล น้ำหนักผล ปริมาณน้ำคั้น ปริมาณกรด และความหวาน เป็นต้น ยกร่างมาตรฐานการจัดชั้นคุณภาพ
มะเม่า ทดสอบการยอมรับร่างมาตรฐาน จากการทดลองพบว่า ชั้นมาตรฐานคุณภาพของมะเม่าโดยใช้
เกณฑ์การประเมินองค์ประกอบผลผลิตและคุณภาพผลผลิตที่เก็บตัวอย่างจากแปลงปลูกมะเม่าของ
เกษตรกร มาตรฐานการจัดชั้นคุณภาพมะเม่าสด ในเทือกเขาภูพานแบ่งออกเป็น 3 มาตรฐาน คือ A B C
ซึ่งมาตรฐาน A ประกอบด้วย 14 เกณฑ์มาตรฐาน เกษตรกรที่ได้คะแนนจากเกณฑ์การประเมินสูงสุด
จำนวน 6 ราย ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า มีคุณสมบัติสอดคล้องกับมาตรฐาน แต่อย่างไรก็ตามการออกผลผลิต
ของมะเม่าในแต่ละปีไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ การดูแลรักษาและชนิดพันธุ์ที่เกษตรกรนำมาปลูก
ดังนั้นมาตรฐานที่ได้ยกร่างขึ้น ในปี 2558 นี้ เป็นเพียงข้อมูลข้างต้นเพื่อให้เกษตรกร เอกชน หรือเจ้าหน้าที่
ภาครัฐใช้ตัดสินใจในการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ และเป็นฐานข้อมูลในการผลิตมะเม่าของ
จังหวัดสกลนครต่อไป
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร
2/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3
1363