Page 1432 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1432

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาพืชท้องถิ่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาการผลิตมะเม่าพื้นที่จังหวัดสกลนคร

                       3. ชื่อการทดลอง             การจัดทำแผนที่แสดงแหล่งปลูกมะเม่า

                                                   Mamao (Antidesma spp.) Geographical Indication Maps
                                                                 1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          วีระวัฒน์  ดู่ป้อง           จุฑามาส  ศรีสำราญ 1/
                                                   ศิริรัตน์  เถื่อนสมบัติ      บุญเชิด  วิมลสุจริต 1/
                                                                    1/
                                                                2/
                                                   ญาณิน  สุปะมา                ศักดิ์สิทธิ์  จรรยากรณ์ 2/
                       5. บทคัดย่อ

                              มะเม่าเป็นไม้ผลท้องถิ่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากในจังหวัดสกลนคร มีพื้นที่ปลูก

                       บนเทือกเขาภูพาน การจัดทำแผนที่แสดงแหล่งปลูกมะเม่า โดยสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพื้นที่ปลูกโดยใช้
                       เครื่องมือ GPS รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดเก็บตามระบบ GIS เช่น พิกัดพื้นที่ ชุดดิน

                       ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย จัดทำแผนที่ โดยการนำข้อมูลต่างๆ ที่จัดเก็บอย่างเป็นระบบ ตามระบบ GIS
                       มาซ้อนทับกันโดยใช้โปรแกรม ArcView ผลการทดลองพบว่า อำเภอที่ปลูกมากที่สุดคืออำเภอภูพาน

                       จำนวน 150 ไร่ 8 งาน ส่วนใหญ่พบมากที่ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จำนวน 52 ไร่ 2 งาน รองลงมาที่
                       ตำบลวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จำนวน 19 ไร่ รวมพื้นที่ปลูกมะเม่าทั้งหมดจำนวน 60 แปลง พื้นที่ทั้งหมด

                       197 ไร่ บริเวณพื้นที่ปลูกมะเม่ามีกลุ่มชุดดินที่ 35 และ17 ชื่อชุดดินโคราช ชุดดินยโสธร และชุดดินร้อยเอ็ด

                       ลักษณะชุดดิน Kt Yt และ Re
                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              จากผลการจัดทำแผนที่แสดงแหล่งปลูกมะเม่าบริเวณตามแนวเทือกเขาภูพาน เพื่อเป็นข้อมูล

                       พื้นที่ฐานในการทำงานทดลองสืบค้น รวมถึงเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเกษตรกรที่มีความสนใจสามารถนำไปใช้
                       ในงานด้านอื่นๆ ต่อไป

























                       __________________________________________
                       1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร
                        สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3
                       2/
                                                          1365
   1427   1428   1429   1430   1431   1432   1433   1434   1435   1436   1437