Page 1436 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1436
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาพืชท้องถิ่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
2. โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตมะเม่าพื้นที่จังหวัดสกลนคร
3. ชื่อการทดลอง การพัฒนาชุดเทคโนโลยีการแปรรูปน้ำมะเม่าพร้อมดื่มเพื่อสร้าง
ผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้าเฉพาะถิ่น
Technology Development and Processing of Mamao Juice
(Antidesma spp.) for Local Products
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน วีระวัฒน์ ดู่ป้อง วิไลศรี ลิปพยอม 2/
จุฑามาส ศรีสำราญ ศิริรัตน์ เถื่อนสมบัติ 1/
1/
1/
กิติพร เจริญสุข บุญเชิด วิมลสุจริต 1/
ญาณิน สุปะมา ศักดิ์สิทธิ์ จรรยากรณ์ 2/
2/
5. บทคัดย่อ
มะเม่าเป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae สกุล Antidesma มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Antidesma
thwaitesianum Müll.Arg. ปลูกมากในเขตจังหวัดสกลนคร ได้ทำการตรวจสอบการทดสอบฤทธิ์
ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical scavenging activity) ของน้ำหมากเม่าเข้มข้น ที่วางจำหน่ายและที่สกัดสด
จากผลมะเม่า โดยหาปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ DPPH (2,2,2-Diphenyl-1-picrylhydrazyl) และ
ปริมาณสารฟีโนลิครวม (Total phenolic compounds) โดยวิธี Folin Ciocalteu method โดยใช้
เครื่อง UV-Spectrophotometry ที่ความยาวคลื่น 517 และ 765 นาโนเมตร ตามลำดับ โดยใช้น้ำมะเม่า
เข้มข้นจำนวน 3 ชุดๆ ละ 6 ตัวอย่าง พบว่า มีการยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ DPPH (% DPPH inhibition)
อยู่ในช่วง 27.76 - 48.75 มีค่า GAE เท่ากับ 69.45 - 207.25 มิลลิกรัม garlic acid ต่อน้ำมะเม่า 100 กรัม
ปริมาณฟีโนลิค 54.24 - 96.84 มิลลิกรัม garlic acid ต่อกรัม ได้ทำการตรวจสอบปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ
และเก็บรักษาเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย การตรวจสอบ
ปริมาณกลุ่มสารฟิโนลิค โดยใช้เครื่อง HPLC พบว่า น้ำมะเม่าเข้มข้น มีปริมาณ garlic acid 89.00 - 92.58,
isoquercetin 1.03 - 1.25, catechin 26.61 - 29.32 และ tannic acid 46.66 - 50.38 มิลลิกรัมต่อ
กิโลกรัม ต่อมาทำการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์อาหารจากมะเม่าที่เป็นผลพลอยได้
จากการแปรรูป ได้เครื่องดื่มน้ำมะเม่าเข้มข้น ได้ผลิตภัณฑ์น้ำมะเม่าเข้มข้นเพื่อสุขภาพ น้ำมะเม่าพร้อมดื่ม
ที่มีความหวาน 15 Brix และ 20 Brix มี Anthocyanins สูง และเครื่องดื่มมะเม่าผง โดยทำการศึกษา
สภาวะที่เหมาะสม ในการผลิตน้ำมะเม่าเข้มข้นสเตอร์ไรด์ และการทำแห้งแบบพ่นฝอยน้ำมะเม่าโดยใช้
เครื่อง Spray dryer ที่อุณหภูมิ 150, 160, และ 170 องศาเซลเซียส โดยนำผลมะเม่าสดที่สุกซึ่งจะมีสีดำ
รสหวาน รวมกับมะเม่าสุกสีแดงรสเปรี้ยว และบางพันธุ์จะมีรสฝาด มาทำการแปรรูป ใช้มอลโตเด็กซตริน
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสกลนคร
2/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
3/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3
1369