Page 1437 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1437
15 เปอร์เซ็นต์ ได้หมากเม่าผงสีม่วงแดง มีค่าสีในช่วง L* 60.42, a* 21.87, b* 8.53 และ L* 76.23,
a* 13.40, b* -5.13 และได้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารจากมะเม่าที่เป็นผลพลอยได้จากการแปรรูป เช่น
แยมมะเม่า เยลลี่มะเม่า มะเม่ากวน การตรวจสอบคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการของเครื่องดื่ม
มะเม่าผง พบว่ามีปริมาณความชื้นร้อยละของน้ำหนัก เท่ากับ 2.18 และไม่พบชนิดและปริมาณ
สีสังเคราะห์ กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นยีสต์และรา MPN Coliforms ต่อ 100
มิลลิลิตร น้อยกว่า 1.1 ไม่พบ Escherichia coli ต่อ 100 มิลลิลิตร ไม่พบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ เช่น
Staphylococcus aureus ต่อ 0.1 กรัม ไม่พบ Salmonella spp. ต่อ 25 กรัม ไม่พบ Bacillus cereus
โคโลนีต่อกรัม ในด้านคุณค่าทางโภชนาการ พบว่าน้ำมะเม่าผง 100 กรัม ให้พลังงาน 391.32 กิโลแคลอรี่
พลังงานจากไขมัน 1.80 กิโลแคลอรี่ ไขมันทั้งหมด 0.20 กรัม ไม่มีโคเลสเตอรอล ไม่มีโปรตีน มีคาร์โบไฮเดรท
ทั้งหมด 97.38 กรัม ใยอาหาร 0.46 กรัม น้ำตาล 9.41 กรัม โซเดียม 45.12 มิลลิกรัม มีวิตามินบี 1 และ
บี 2 น้อยกว่า 0.11 มิลลิกรัม มีแคลเซียม 13.72 มิลลิกรัม และเหล็ก 0.51 มิลลิกรัม มะเม่าผงที่ได้ให้สี
และรสชาติมะเม่า ทำการผสมกับชา กาแฟ ได้ชา กาแฟผสมมะเม่าผงที่ได้รับการยอมรับ รวมทั้งไอศกรีม
จากมะเม่าสดและมะเม่าผง ขนมขบเคี้ยวเยลลี่แข็งจากน้ำมะเม่าที่ได้มีรสชาติดี สามารถบริโภคได้ทั้งเด็ก
และผู้สูงอายุ สามารถเก็บได้นาน 1 เดือนที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ผลงานที่ได้ศึกษาวิจัยนี้ได้เผยแพร่
กรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวม 12 ผลิตภัณฑ์
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ได้เผยแพร่ผลงานในรูปแผ่นพับและเอกสารวิชาการ เพื่อให้ผู้สนใจนำไปใช้ประโยชน์ทั้งใน
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะในจังหวัดสกลนคร
1370