Page 1469 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1469

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม
                                                   ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

                       2. โครงการวิจัย             พัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่เหมาะสม

                                                   ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
                       3. ชื่อการทดลอง             ทดสอบวัสดุห่อผลที่เหมาะสมในการผลิตลองกองคุณภาพจังหวัดสงขลา

                                                   Testing of Bagging Materials on Fruit Quality of Longkong

                                                   (Lansium domesticum Corr) in Songkhla Province
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          มนต์สรวง  เรืองขนาบ          ศรินณา  ชูธรรมธัช 1/
                                                                      1/
                                                                  1/
                                                   บุญณิศา  ฆังคมณี             ลักษมี  สุภัทรา 1/
                                                   ชนินทร์  ศิริขันตยกุล 1/
                       5. บทคัดย่อ

                              ปัญหาที่สำคัญที่ทำให้ผลผลิตลองกองมีคุณภาพต่ำ คือการดูแลรักษาของเกษตรกรที่ยังขาดความรู้
                       และเทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงปัญหาของโรคและแมลง เช่น มด เพลี้ยแป้ง หรือราดำ เทคโนโลยี

                       การห่อผลเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถป้องกันหรือลดการทำลายของโรคและแมลงได้ แต่ในปัจจุบันมีวัสดุห่อ
                       มากมายหลายชนิด แต่ไม่มีที่ระบุแน่ชัดว่าชนิดไหนเหมาะสมกับการผลิตลองกองในพื้นที่ภาคใต้

                       ดังนั้นจึงทดสอบวัสดุห่อผลที่เหมาะสมในการผลิตลองกองคุณภาพจังหวัดสงขลา ดำเนินการทดสอบ

                       ในแปลงเกษตรกรพื้นที่ อำเภอรัตภูมิ ในปี 2557 จำนวน 2 แปลง และอำเภอจะนะ ในปี 2558 จำนวน
                       2 แปลง วางแผนการทดลองแบบ Randomized Completely Block Design (RCB)  5 ซ้ำ 5 กรรมวิธี

                       คือทดสอบถุงตาข่ายไนล่อน ถุงผ้าตาข่าย ถุงพลาสติกหูหิ้ว ถุงกระดาษเคลือบไข และไม่ห่อผล พบว่า

                       โดยรวมแล้วถุงตาข่ายไนล่อนเหมาะสมต่อการห่อลองกองในจังหวัดสงขลา เนื่องจากพบแมลง การเกิด
                       เชื้อรา และผลเน่าน้อยกว่าวัสดุห่อชนิดอื่นๆ แม้ว่าถุงกระดาษเคลือบไขจะให้สีผิวผลสว่างกว่า แต่เมื่อ

                       รวมถึงความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ใช้งานโดยตรงแล้ว ถุงตาข่ายไนล่อนมีความสะดวกในการใช้งานและ

                       คงทน สำหรับคุณภาพผลผลิตภายในไม่มีผลเด่นชัดจากชนิดของวัสดุห่อ
                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              กลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรที่ปลูกลองกอง โดยเฉพาะเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง สามารถ
                       นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต














                       __________________________________________
                       1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8


                                                          1402
   1464   1465   1466   1467   1468   1469   1470   1471   1472   1473   1474