Page 1471 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1471
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม
ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
2. โครงการวิจัย การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่เหมาะสม
ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
3. ชื่อการทดลอง พัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการกำจัดเพลี้ยไฟในมังคุดให้มีคุณภาพ
ในระบบปลูกสวนเดี่ยวและสวนผสมพื้นที่จังหวัดสงขลา
Technology of Eliminated Thrips on Good Fruits Quality of
Mangosteen in Single and Mixed-Cropping in Songkhla
Province
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ลักษมี สุภัทรา มนต์สรวง เรืองขนาบ 1/
อภิญญา สุราวุธ บุญณิศา ฆังคมณี 1/
1/
ศรินณา ชูธรรมธัช 1/
5. บทคัดย่อ
การวิจัยพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการกำจัดเพลี้ยไฟในมังคุดให้มีคุณภาพ ในระบบปลูกสวนเดี่ยว
และสวนผสมพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยใช้แปลงมังคุดสวนเดี่ยวและสวนผสม อายุ 15 ปี
จำนวน 2 แปลง ดำเนินการทดลองตั้งแต่ ตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
การกระจายของประชากรเพลี้ยไฟ แนวทางการแก้ปัญหาและการกำจัดเพลี้ยไฟ ลดเปอร์เซ็นต์การทำลาย
ผลผลิตมังคุดของเพลี้ยไฟในสภาพมังคุดสวนเดี่ยวและสวนผสม และอิทธิพลของร่มเงาต่อการระบาดของ
เพลี้ยไฟมังคุด พบว่า แปลงมังคุดสวนผสมมีการออกดอกช้ากว่าแปลงมังคุดสวนเดี่ยว แต่มีปริมาณการ
ออกดอกติดผลมากกว่า จำนวนประชากรเพลี้ยไฟ ปี 2557 สูงกว่า ปี 2558 โดยแปลงมังคุดสวนเดี่ยวมี
ประชากรเพลี้ยไฟสูงกว่าแปลงมังคุดสวนผสม โดยช่วงแตกใบอ่อนและช่วงออกดอกมีปริมาณเพลี้ยไฟ
สูงกว่าช่วงติดผล ชนิดของเพลี้ยไฟที่พบมี 2 ชนิด คือ Scirtothrips dorsalis Hood และ Scirtothrips
oligochaetus Kamy พบทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย และยังพบแมลงศัตรูธรรมชาติ จำนวน
2 ชนิด ได้แก่ แมลงช้างปีกใส (Chrysopa basalis) และแมลงหางหนีบ (Proreus simulans staiien)
ในแปลงมังคุดสวนผสม สำหรับแนวทางการจัดการเพลี้ยไฟมังคุด พบว่า การใช้สเปรย์กับดักกาวเหนียว
(กรรมวิธีที่ 3) และการใช้น้ำฉีดพ่นบริเวณทรงพุ่ม (กรรมวิธีที่ 2) สามารถลดเปอร์เซ็นต์การทำลายของ
เพลี้ยไฟในทุกระยะการเจริญของมังคุดได้ และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยในช่วง
แตกใบอ่อนลดการทำลายเพลี้ยไฟได้ 21.08 - 55.25 เปอร์เซ็นต์ ช่วงออกดอกลดได้ 5.98 - 29.52 เปอร์เซ็นต์
และช่วงติดผลลดได้ 10.79 - 34.38 เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดปริมาณผลผลิตที่ถูกทำลายได้ 78.8
เปอร์เซ็นต์ (มังคุดสวนเดี่ยว) 91.7 เปอร์เซ็นต์ (มังคุดสวนผสม) และพบว่าอิทธิพลของร่มเงา
สภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน มีผลต่อจำนวนประชากรเพลี้ยไฟ โดยแปลงมังคุดสวนผสม
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8
1404