Page 1470 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1470
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม
ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
2. โครงการวิจัย การพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตไม้ผลเศรษฐกิจที่เหมาะสม
ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
3. ชื่อการทดลอง ทดสอบวัสดุห่อผลที่เหมาะสมในการผลิตลองกองคุณภาพจังหวัดสตูล
Testing Results are Packing Materials for the Production of
Quality Longong (Lansium domesticum Corr) in Satun
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน บุญณิศา ฆังคมณี ศรินณา ชูธรรมธัช 1/
มนต์สรวง เรืองขนาบ ลักษมี สุภัทรา 1/
1/
สุนีย์ สันหมุด 1/
5. บทคัดย่อ
ทดสอบวัสดุห่อผลที่เหมาะสมในการผลิตลองกองคุณภาพจังหวัดสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบ
วัสดุห่อผลลองกองที่เหมาะสมในการเพิ่มคุณภาพผิวและผลลองกองให้ปราศจากเชื้อราดำ ผลเน่า
เนื่องจากแมลงวันผลไม้ และการทำลายของค้างคาว ทำการทดลองที่แปลงเกษตรกร จังหวัดสตูล
ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2558 วางแผนการทดลองแบบ Randomized Completely
Block Design (RCB) 5 ซ้ำๆ ละ 1 ต้น ประกอบด้วย 5 กรรมวิธี คือ ไม่มีการห่อผล (control) ห่อด้วย
ถุงตาข่ายไนล่อน ห่อด้วยถุงผ้าตาข่าย ห่อด้วยถุงพลาสติกหูหิ้ว และห่อด้วยถุงกระดาษเคลือบไข พบว่า
การห่อผลสามารถป้องกันการเข้าทำลายของค้างคาวได้ ทำให้มีการพัฒนาสีผิวเปลือกดีขึ้น การเจริญเติบโต
ด้านขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางผลเพิ่มขึ้น ในขณะที่คุณภาพเนื้อภายในผลแต่ละกรรมวิธีไม่แตกต่างกัน และ
พบว่าการห่อด้วยถุงตาข่ายไนล่อน ช่อผลลองกองมีความยาวช่อเพิ่มขึ้น สำหรับการเข้าทำลายของโรคราดำ
พบว่าระดับความรุนแรงอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ และสามารถลดการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ เพลี้ยแป้ง
และมดได้ ดังนั้นควรห่อผลลองกองด้วยถุงตาข่ายไนล่อน เพราะถุงที่ใช้ห่อไม่มีความเสียหาย เกษตรกร
สามารถนำกลับมาใช้ได้ในรุ่นต่อไปได้ หาได้ง่าย ทนทาน และยังสามารถสังเกตว่าผลลองกองพร้อมเก็บเกี่ยว
หรือยัง
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ได้วัสดุห่อผลที่เหมาะสมในการผลิตลองกองคุณภาพ โดยการห่อผลด้วยถุงตาข่ายไนล่อน
เมื่อลองกองติดผลอายุ 6 สัปดาห์หลังดอกบาน
2. นักวิชาการสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาถุงห่อผลลองกองให้มีคุณสมบัติเหมาะสม
รวมทั้งการอารักขาพืชต่อไป
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8
1403