Page 1495 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1495
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์
2. โครงการวิจัย การศึกษาระบบการปลูกพืชร่วมเพื่อจัดการระบบสมดุลในห่วงโซ่
อาหารในระบบเกษตรอินทรีย์
3. ชื่อการทดลอง การทดสอบรูปแบบการปลูกพืชร่วมในการปลูกกะเพรา โหระพา
แมงลักอินทรีย์ : เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อนและหนอนม้วนใบ
ในจังหวัดพิจิตร
The Test of Organic Combine Growing Model with Basil,
Sweet Basil, Lemon Basil for Protection of Aphids and
Caterpillar Roll Leaves in Phichit Province
4. คณะผู้ดำเนินงาน ดรุณี สมณะ เบญจวรรณ สุรพล 1/
1/
เสงี่ยม แจ่มจำรูญ 1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบของการนำพืชกับดักไปใช้ในระบบการปลูกพืชอินทรีย์ โดยการปลูกทดสอบ
รูปแบบการปลูกพืชร่วมในการปลูกกะเพรา โหระพา แมงลักอินทรีย์ เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยอ่อนและ
หนอนม้วนใบ ในจังหวัดพิจิตร ได้ดำเนินการทดลองตั้งปี 2556 - 2558 ในแปลงทดลองของศูนย์วิจัยและ
พัฒนากรเกษตรพิจิตร ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบการปลูกพืชร่วมในการปลูกกะเพรา โหระพา แมงลักอินทรีย์
4 กรรมวิธี คือ กรรมวิธีที่ 1 การปลูก กะเพรา โหระพา แมงลัก เป็นพืชหลัก และปลูกกวางตุ้ง
และดาวกระจายเป็นพืชกับดักล้อมรอบแปลงทั้ง 4 ด้าน กรรมวิธีที่ 2 ปลูกกะเพรา โหระพา แมงลัก
เป็นพืชหลัก และปลูกกวางตุ้ง และดาวกระจาย เป็นพืชกับดักแซมกระจายในแปลง กรรมวิธีที่ 3
ปลูกกะเพรา โหระพา แมงลัก เป็นพืชหลัก และปลูกกวางตุ้ง และดาวกระจาย เป็นพืชกับดักสลับแถวแปลง
กรรมวิธีที่ 4 ปลูกเฉพาะกะเพรา โหระพา แมงลัก ไม่ปลูกพืชกับดัก (กรรมวิธีควบคุม) โดยวางแผน
การทดลองแบบ Randomized Complete Block Design มี 5 ซ้ำ
ผลการทดลอง พบว่า การปลูกพืชกับดักในรูปแบบไหนก็ใช้ได้เหมือนกัน ขณะที่พืชแต่ละชนิด
มีความชอบของศัตรูพืชเข้าทำลายแตกต่างกัน พืชทุกชนิดมีการเจริญเติบโตดีโดยเฉพาะในระยะ 1 - 2
สัปดาห์แรก หลังจากย้ายต้นกล้าลงแปลงในทุกกรรมวิธี ซึ่งประชากรของแมลงศัตรูพืชที่ระบาด จะมี
ปริมาณน้อยในช่วงแรกของการปลูกพืช และจะมีปริมาณมากขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 4 - 5 สัปดาห์หลังปลูก
ต่อจากนั้นปริมาณจะลดลงเมื่อพืชใกล้เก็บเกี่ยวจากาการสำรวจพบแมลงศัตรูพืช 3 ชนิด คือ เพลี้ยอ่อน
หนอนม้วนใบ และเพลี้ยไฟ ซึ่งการปลูกพืชเฉพาะกะเพรา โหระพา แมงลัก ไม่ปลูกพืชกับดัก พบว่า
มีปริมาณความหนาแน่นของประชากรแมลงศัตรูพืชมากที่สุด และการปลูกพืชระบบการปลูก กะเพรา
โหระพา แมงลัก เป็นพืชหลักและปลูกกวางตุ้ง และดาวกระจายเป็นพืชกับดักล้อมรอบแปลงทั้ง 4 ด้าน
พบว่า มีการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อน หนอนม้วนใบ และเพลี้ยไฟ มีปริมาณต่ำกว่าทุกกรรมวิธี และ
ผลผลิตกะเพรา โหระพา และแมงลัก ที่เป็นพืชหลัก พบว่า ในทุกกรรมวิธีไม่แตกต่างกันทางสถิติ
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร
1428