Page 1490 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1490
ข้อกำหนด และเข้าใจวิธีการตรวจประเมินในแต่ละข้อกำหนด รวมทั้งทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP พืช โดยการจัดฝึกอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการจำนวน 3 หลักสูตร มีผู้
เข้ารับการฝึกอบรมและร่วมสัมมนารวมทั้งสิ้น 180 คน ได้แก่
1.1.1 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพคณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช
สำหรับคณะกรรมการรับรองฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP พืช ระหว่างวันที่
10-12 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมทวาราวดี รีสอร์ท อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี จัดโดย กมพ.
มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 60 คน
1.1.2 การฝึกอบรมหลักสูตร การเพิ่มสมรรถนะผู้ตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP พืช
ตามมาตรฐาน ASEAN GAP สำหรับผู้ตรวจประเมินเก่าของ สวพ. 1 - 8 ระหว่างวันที่ 6 - 8 มกราคม 2558
ณ ห้องประชุม สวพ. 1 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จัดโดย สวพ. 1 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 60 คน
1.1.3 การฝึกอบรมหลักสูตร การตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP พืช สำหรับผู้ตรวจ
ประเมินใหม่ของ สวพ. 1 - 8 ระหว่างวันที่ 8 - 12 มิถุนายน 2558 ณ คาแสดรีสอร์ต อำเภอเมือง
จังหวัดกาญจนบุรี จัดโดย สวพ. 5 มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 60 คน
1.2 การเตรียมความพร้อมหน่วยรับรองกรมวิชาการเกษตร ตามที่ประเทศสมาชิกอาเซียน
มีข้อตกลงในการปรับมาตรฐาน GAP พืช ของประเทศตัวเองให้เทียบเท่ากับมาตรฐาน ASEAN GAP
ภายในปี 2558 เพื่อให้มาตรฐานการรับรองแหล่งผลิต GAP พืชของประเทศสมาชิกอาเซียน
เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้ทำการจัดทำ
มาตรฐานสินค้าเกษตรพืชอาหาร (มกษ 9001 - 2556) เพื่อให้หน่วยรับรองแหล่งผลิต GAP พืช ได้นำ
มาตรฐานฯ ไปใช้ กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำเอกสารระบบคุณภาพทั้ง 3 ฉบับ โดยเทียบเคียงรายการ
ตรวจประเมินตามข้อกำหนดมาตรฐาน ASEAN GAP เพื่อใช้ในการตรวจประเมินแหล่งผลิต GAP พืช
2. การเตรียมความพร้อมเกษตรกรเข้าสู่ระบบการตรวจรับรอง การศึกษาและวิจัยผลกระทบ
ของมาตรฐาน ASEAN GAP ต่อการปฏิบัติของเกษตรกร ทำให้ทราบเงื่อนไขหรือความเสี่ยงที่ทำให้
เกษตรกรไม่สามารถปฏิบัติได้ สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ
ส่งเสริม สนับสนุน และเตรียมความพร้อมเกษตรกร สามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางการจัดฝึกอบรม
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับเกษตรกรได้
1423