Page 1487 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1487
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ. 9000 เล่ม 1 - 2552) พบเงื่อนไขและความเสี่ยงที่มีผลต่อการปฏิบัติ
ของเกษตรกรในข้อกำหนดที่ 3 เมล็ดพันธุ์หรือส่วนที่ใช้ในการขยายพันธุ์มากที่สุดร้อยละ 95.86 เนื่องจาก
เมล็ดพันธุ์หรือส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ไม่ได้มาจากระบบการผลิตแบบอินทรีย์ รองลงมาคือ ข้อกำหนดที่ 10
การบันทึกข้อมูลการผลิตและการทวนสอบร้อยละ 54.88 เนื่องจากเกษตรกรไม่จัดทำบันทึกข้อมูล
การผลิตหรือบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วนและไม่เป็นปัจจุบัน ทำให้บันทึก หลักฐาน และเอกสารไม่สามารถ
ทวนสอบได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต และมีผลทำให้เกษตรกรผ่านข้อกำหนดที่ 10 ในการตรวจประเมินครั้งที่ 1
เพียงร้อยละ 45.12 สำหรับผู้ตรวจประเมินพบปัญหาและอุปสรรคในการตรวจประเมินตามข้อกำหนดที่ 10
การบันทึกข้อมูลการผลิตและการทวนสอบมากที่สุดร้อยละ 24.3 เนื่องจากเกษตรกรจัดทำบันทึก
หลักฐาน และเอกสารไม่ครบถ้วน ไม่เป็นปัจจุบัน และมีการสูญหาย ไม่สามารถทวนสอบได้ตลอดห่วงโซ่
การผลิต รองลงมาคือข้อกำหนดที่ 4 การวางแผนการจัดการร้อยละ 6.47 เนื่องจากเกษตรกรไม่มีความรู้
ความเข้าใจ และไม่จัดทำบันทึก หลักฐาน หรือเอกสารการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการสูญเสีย
ความเป็นอินทรีย์ในกระบวนการผลิต
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. การพัฒนาบุคลากรและการเตรียมความพร้อมหน่วยรับรองกรมวิชาการเกษตร เอกสารระบบ
คุณภาพทั้ง 3 ฉบับ ที่ได้จากการดำเนินการวิจัย สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรและเตรียมความพร้อม
หน่วยรับรองกรมวิชาการเกษตร ได้ดังนี้
1.1 การพัฒนาบุคลากร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 - 8 และกองพัฒนาระบบ
และรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้ใช้เอกสารระบบคุณภาพทั้ง 3 ฉบับ ในการจัดฝึกอบรมและสัมมนาเชิง
ปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาขีดความรู้ ความสามารถ และเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการ
ตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ ได้แก่ คณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ผู้ตรวจประเมิน
แหล่งผลิตพืชอินทรีย์ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และนักวิชาการ สวพ. 1 - 8 และ กมพ. ให้มีความรู้ในการ
ตีความข้อกำหนด และเข้าใจวิธีการตรวจประเมินในแต่ละข้อกำหนด รวมทั้งทราบถึงขั้นตอนการ
ปฏิบัติงานตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ ตามมาตรฐานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ. 9000
เล่ม 1 - 2552)
1.2 การเตรียมความพร้อมหน่วยรับรองกรมวิชาการเกษตร ตามที่สำนักงานมาตรฐาน
สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ได้นำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ (มกษ. 9000 เล่ม 1 - 2552) มาใช้ในการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชเกษตรอินทรีย์นั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำเอกสารระบบคุณภาพทั้ง 3 ฉบับ
เพื่อเตรียมความพร้อมหน่วยรับรองให้สามารถตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ได้อย่างมีคุณภาพ
1.3. การเตรียมความพร้อมเกษตรกรเข้าสู่ระบบการตรวจรับรอง การศึกษาและวิจัย
ผลกระทบของมาตรฐานตามมาตรฐานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ. 9000 เล่ม 1 - 2552) ต่อการ
ปฏิบัติของเกษตรกร ทำให้ทราบเงื่อนไขหรือความเสี่ยงที่ทำให้เกษตรกรไม่สามารถปฏิบัติได้ สอดคล้องกับ
ข้อกำหนดของมาตรฐาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม สนับสนุน และเตรียมความพร้อม
เกษตรกร สามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางการจัดฝึกอบรม เพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้กับเกษตรกรได้
1420