Page 1492 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1492
แหล่งที่มาและคุณภาพของเมล็ดและส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ และการเลือกใช้พันธุ์พืชที่ผลิตในท้องถิ่นหรือ
พันธุ์ดั้งเดิม และจัดทำคู่มือการตรวจประเมินแหล่งผลิตพืชอินทรีย์มาตรฐาน ASOA จำนวน 1 ฉบับ
และคู่มือการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ตามข้อกำหนด ISO/IEC 17065 จำนวน 1 ฉบับ
รวมทั้งศึกษาและวิจัยผลกระทบของมาตรฐาน ASOA ต่อการปฏิบัติของเกษตรกรและการปฏิบัติงาน
ตรวจประเมินของผู้ตรวจประเมิน ซึ่งพบว่าเมื่อเกษตรกรปฏิบัติตามมาตรฐาน ASOA พบเงื่อนไขและ
ความเสี่ยงที่มีผลต่อการปฏิบัติของเกษตรกรในข้อกำหนดที่ 4 เมล็ดพันธุ์หรือส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์มากที่สุด
ร้อยละ 95.86 เนื่องจากเมล็ดพันธุ์หรือส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ไม่ได้มาจากระบบการผลิตแบบอินทรีย์
รองลงมาคือ ข้อกำหนดที่ 10 การบันทึกข้อมูลการผลิตและการทวนสอบร้อยละ 54.88 เนื่องจาก
เกษตรกรไม่จัดทำบันทึกข้อมูลการผลิตหรือบันทึกข้อมูลไม่ครบถ้วนและไม่เป็นปัจจุบัน ทำให้บันทึก
หลักฐาน และเอกสารไม่สามารถทวนสอบได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต และมีผลทำให้เกษตรกรผ่านข้อกำหนด
ที่ 10 ในการตรวจประเมินครั้งที่ 1 เพียงร้อยละ 45.12 สาหรับผู้ตรวจประเมินพบปัญหาและอุปสรรค
ในการตรวจประเมินตามข้อกำหนดที่ 10 การบันทึกข้อมูลการผลิตและการทวนสอบมากที่สุดร้อยละ
30.86 เนื่องจากเกษตรกรจัดทำบันทึก หลักฐาน และเอกสารไม่ครบถ้วน ไม่เป็นปัจจุบัน และมีการสูญหาย
ไม่สามารถทวนสอบได้ตลอดห่วงโซ่การผลิต รองลงมาคือข้อกำหนดที่ 3 การวางแผนการจัดการร้อยละ
19.14 เนื่องจากเกษตรกรไม่มีความรู้ ความเข้าใจ และไม่จัดทำบันทึก หลักฐาน หรือเอกสารการวิเคราะห์
ความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการสูญเสียความเป็นอินทรีย์ในกระบวนการผลิต ทำให้ผู้ตรวจประเมินต้องเสียเวลา
และหน่วยรับรองต้องเสียงบประมาณในการเข้าตรวจประเมินเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. การพัฒนาบุคลากรและการเตรียมความพร้อมหน่วยรับรองกรมวิชาการเกษตร เอกสารระบบ
คุณภาพทั้ง 3 ฉบับ ที่ได้จากการดำเนินการวิจัย สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรและเตรียม
ความพร้อมหน่วยรับรองกรมวิชาการเกษตร ได้ดังนี้
1.1 การพัฒนาบุคลากร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 - 8 และกองพัฒนาระบบ
และรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้ใช้เอกสารระบบคุณภาพทั้ง 3 ฉบับ ในการจัดฝึกอบรมและสัมมนาเชิง
ปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาขีดความรู้ ความสามารถ และเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการ
ตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ ได้แก่ คณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ผู้ตรวจประเมิน
แหล่งผลิตพืชอินทรีย์ เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และนักวิชาการ สวพ. 1 - 8 และ กมพ. ให้มีความรู้ในการ
ตีความข้อกำหนด และเข้าใจวิธีการตรวจประเมินในแต่ละข้อกำหนด รวมทั้งทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์มาตรฐาน ASOA โดยการจัดฝึกอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการจำนวน
3 หลักสูตร มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมและร่วมสัมมนารวมทั้งสิ้น 159 คน ได้แก่
1.1.1 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพิ่มศักยภาพคณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช
สำหรับคณะกรรมการรับรองฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ ระหว่างวันที่
10 - 12 กุมภาพันธ์ 2558 ณ โรงแรมทวาราวดี รีสอร์ท อาเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรี จัดโดย
กมพ. มีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 56 คน
1425