Page 1489 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1489
ASEAN GAP ข้อเงื่อนไขหรือความเสี่ยงที่พบมากที่สุดอยู่ในข้อกำหนดที่ 4 การจัดการคุณภาพใน
กระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว พบเงื่อนไขหรือความเสี่ยงเฉลี่ยร้อยละ 59.10 ต่อข้อย่อย โดยข้อย่อย
4.15 มีสถานที่เก็บรักษา เครื่องมือและอุปกรณ์เป็นสัดส่วน ปลอดภัย และง่ายต่อการนำไปใช้งาน พบ
ข้อสังเกตมากที่สุดร้อยละ 7.4 เนื่องจากเกษตรกรขาดสถานที่เก็บรักษาที่เหมาะสม เพราะเป็นการเพิ่ม
ภาระค่าใช้จ่าย แต่เกษตรกรมีวิธีการแก้ไขคือจัดการสถานที่ให้เหมาะสม โดยยึดความปลอดภัยและ
ประหยัด คิดเป็นร้อยละ 7.4 และเกษตรกรผ่านการตรวจประเมินครั้งที่ 1 โดยเฉลี่ยร้อยละ 91.50
รองลงมาคือข้อกำหนดที่ 7 สุขลักษณะส่วนบุคคล พบเงื่อนไขหรือความเสี่ยงเฉลี่ยร้อยละ 46.0 ต่อข้อย่อย
โดยข้อย่อย 7.1 ผู้ที่สัมผัสกับผลิตผลโดยตรง โดยเฉพาะหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลที่มีความเสี่ยงต่อการ
ปนเปื้อนต้องมีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคล และมีวิธีการป้องกันไมให้เกิดการปนเปื้อนสู่ผลิตผล
พบข้อบกพร่องมากที่สุดร้อยละ 8.3 เนื่องจากเกษตรกรไม่มีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลในการปฏิบัติงาน
และผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับผลผลิตโดยตรงไม่มีการป้องกันความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนผลผลิต ซึ่งเกษตรกร
มีวิธีการแก้ไขคือ ให้ผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวโดยตรงต้องมีการทำความสะอาด
ร่างกายก่อนการปฏิบัติงาน และสวมอุปกรณ์ป้องกันการปนเปื้อนผลผลิต เช่นหมวก ถุงมือ จึงเป็นปัญหา
สำคัญที่ทำให้เกษตรกรผ่านการตรวจประเมินครั้งที่ 1 ร้อยละ 91.3 ครั้งที่ 2 ร้อยละ 8.1 และครั้งที่ 3
ร้อยละ 0.2
สำหรับผู้ตรวจประเมินพบปัญหาและอุปสรรคในการตรวจประเมินตามข้อกำหนดที่ 3 วัตถุอันตราย
ทางการเกษตร มากที่สุดร้อยละ 12.70 เกษตรกรและผู้ตรวจประเมินยังขาดความรู้เรื่องการใช้วัตถุอันตราย
ทางการเกษตร เครื่องมือ อุปกรณ์เครื่องพ่นวัตถุอันตราย และการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทการใช้
การบันทึกข้อมูลวัตถุอันตรายของเกษตรกรยังไม่เป็นระบบ ทำให้ไม่สามารถตอบคำถาม หรือมีหลักฐาน
ยืนยันเมื่อผู้ตรวจเรียกดู รองลงมาคือข้อกำหนดที่ 2 พื้นที่ปลูกร้อยละ 12.66 ปัญหาเอกสารสิทธิ์เป็น
ปัญหาที่พบมากที่สุดในข้อกำหนดพื้นที่ปลูก เช่น เอกสารสิทธิ์ ภบท. 5 ยกเลิกทำให้เกษตรกรเสียสิทธิ
โดยทันที บางรายไม่อยากให้สำเนาเอกสารสิทธิที่ดินเพราะเกรงว่าจะถูกนำไปใช้ในทางมิชอบ เกษตรกร
บางคนต้องใช้เวลานานในการเดินเรื่องขอเอกสารมาสำเนาจากธนาคาร บางพื้นที่ไม่มีบุคคลรับรอง
และไม่มีบันทึกย้อนหลังการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ที่ทำการผลิตทำให้ผู้ตรวจประเมินต้องเสียเวลาและ
หน่วยรับรองต้องเสียงบประมาณในการเข้าตรวจประเมินเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. การพัฒนาบุคลากรและการเตรียมความพร้อมหน่วยรับรองกรมวิชาการเกษตร เอกสารระบบ
คุณภาพทั้ง 3 ฉบับ ที่ได้จากการดำเนินการวิจัย สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาบุคลากรและเตรียมความพร้อม
หน่วยรับรองกรมวิชาการเกษตร ได้ดังนี้
1.1 การพัฒนาบุคลากร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 - 8 และกองพัฒนาระบบ
และรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้ใช้เอกสารระบบคุณภาพทั้ง 3 ฉบับ ในการจัดฝึกอบรมและสัมมนา
เชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาขีดความรู้ ความสามารถ และเตรียมความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการ
ตรวจรับรองแหล่งผลิต GAP พืช ได้แก่ คณะกรรมการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ผู้ตรวจประเมินแหล่ง
ผลิต GAP พืช เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล และนักวิชาการ สวพ. 1 - 8 และ กมพ. ให้มีความรู้ในการตีความ
1422