Page 1519 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1519

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืน
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่ใช้น้ำฝน

                       3. ชื่อการทดลอง             การศึกษาระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ลาดชันเขตใช้น้ำฝน

                                                   ภาคเหนือตอนล่างจังหวัดเพชรบูรณ์
                                                   Study on Integrated Farming System in Rainfed Sloped Area

                                                   in the Lower North in Phetchabun Province

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ยงศักดิ์  สุวรรณเสน          เพ็ญรัตน์  เทียมเพ็ง 1/
                                                                    1/
                                                   ทินกร  งามงอน 1/

                       5. บทคัดย่อ

                              การศึกษาระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ลาดชัน เขตใช้น้ำฝนภาคเหนือตอนล่าง
                       จังหวัดเพชรบูรณ์ ดำเนินการในปี 2554 - 2558 ในพื้นที่ ตำบลสะเดาะพง อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

                       โดยการทดสอบแปลงใหญ่ 3 กรรมวิธี ได้ทำการทดสอบ กรรมวิธีที่ 1 ปลูกข้าวไร่ในพื้นที่ 30 เปอร์เซ็นต์
                       และปลูกข้าวโพดในพื้นที่ 70 เปอร์เซ็นต์ มีการไถพรวนน้อย กรรมวิธีที่ 2 ปลูกข้าวไร่ในพื้นที่ 30 เปอร์เซ็นต์

                       และปลูกข้าวโพดในพื้นที่ 70 เปอร์เซ็นต์ มีการไถพรวนปกติ และกรรมวิธีที่ 3 ปลูกข้าวโพดอย่างเดียว
                       และมีการไถพรวนปกติ แล้วนำวิธีที่ให้ผลตอบแทนที่ดีไปขยายผลให้เกษตรกรในพื้นที่ เมื่อเปรียบเทียบกับ

                       กรรมวิธีต้นแบบและแปลงขยายผลของเกษตรกร ปรากฏว่ากรรมวิธีขยายผลของเกษตรกร ให้ผลตอบแทน

                       สุทธิทั้งระบบเฉลี่ย 4,708 บาทต่อไร่ ค่า BCR เท่ากับ 1.48 ส่วนกรรมวิธีต้นแบบ ให้ผลตอบแทนสุทธิทั้ง
                       ระบบเฉลี่ย 1,510 บาทต่อไร่ ค่า BCR เท่ากับ 1.22 ผลจากการทดสอบกรรมวิธีต้นแบบที่ปลูกข้าวไร่ใน

                       พื้นที่ร้อยละ 30 และปลูกข้าวโพดในพื้นที่ร้อยละ 70 และมีการไถพรวนปกติ สามารถนำไปขยายผลให้แก่

                       เกษตรกรได้และมีความมั่นคงทางด้านอาหาร
                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                               สามารถส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ลาดชันจังหวัดเพชรบูรณ์ บริเวณในพื้นที่ใช้น้ำฝนสามารถ

                       ดำเนินการปลูกพืชให้เป็นระบบผสมผสาน โดยระบบที่เป็นไปได้คือ ระบบต้นแบบที่มีการปลูกข้าวไร่พื้นที่
                       ร้อยละ 30 ร่วมกับการปลูกข้าวโพดพื้นที่ร้อยละ 70 และมีการไถพรวนปกติ เป็นอีกแนวทางหนึ่ง

                       ของเกษตรทางเลือกที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ และมีความมั่นคงด้านอาหารที่มีการปลูกข้าวไร่
                       ในระบบ














                       ___________________________________________

                       1/
                        ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์
                                                          1452
   1514   1515   1516   1517   1518   1519   1520   1521   1522   1523   1524