Page 1724 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1724

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยการกักกันพืช

                       3. ชื่อการทดลอง             การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่ง

                                                   เพื่อการแปรรูปนำเข้าจากสาธารณรัฐอินเดียและอียิปต์
                                                   Study on Pest Risk Analysis for the Importation of Potato

                                                   for Processing from India and Egypt

                                                                      1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ปรียพรรณ  พงศาพิชณ์          ชลธิชา  รักใคร่ 1/
                                                                1/
                                                   วันเพ็ญ  ศรีชาติ               วานิช  คำพานิช 1/
                                                   โสภา  มีอำนาจ 1/

                       5. บทคัดย่อ
                              ผลการศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของหัวมันฝรั่งเพื่อการแปรรูปนำเข้าจาก

                       อินเดียและอียิปต์ พบศัตรูพืชกักกันทั้งหมด 15 ชนิด แบ่งเป็น 4 กลุ่มตามความเสี่ยงศัตรูพืช ศัตรูพืชที่มี
                       ความเสี่ยงต่ำมาก ได้แก่ เชื้อรา Boeremia foveata, Fusarium culmorum, Helminthosporuim

                       solani, Phytophthora erythroseptica var. erythroseptica, P. megasperma, P. cryptogea,
                       Synchytrium endobioticum, Verticillium albo-atrum ศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ไส้เดือนฝอย

                       Pratylenchus  loosi,  Pratylenchus  goodeyi  Tylenchorhynchus  claytoni,  Nacobbus

                       aberrans ศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงปานกลาง คือ Spongospora subterranea f. sp. subterranea
                       ศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ไส้เดือนฝอยซิสต์ Globodera pallida และ G. rostochiensis

                              ผลการศึกษาแสดงว่ามีความจำเป็นต้องมีมาตรการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงของศัตรูพืชกักกัน

                       ที่ติดมากับมันฝรั่ง มาตรการทั่วไป เช่น กำหนดให้หัวมันฝรั่งต้องล้างหรือปัดให้ปราศจากดินเท่าที่จะ
                       เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และเมื่อมันฝรั่งมาถึงประเทศไทย ต้องมีการตรวจที่จุดนำเข้าเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มี

                       ศัตรูพืชกักกันติดมา โรงงานที่แปรรูปมันฝรั่งต้องมีระบบการจัดการของเสียและน้ำที่สามารถกำจัดศัตรูพืช

                       ที่ติดมาได้ศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง กำหนดให้มันฝรั่งต้องมาจากพื้นที่หรือแปลงผลิตที่ปลอดจาก
                       ไส้เดือนฝอยซีสต์ (G. pallida and G. rostochiensis)

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                              - สามารถออกเงื่อนไข เพื่อควบคุมการนำเข้า

                              - ได้มาตรการทางวิชาการและทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมการนำเข้า







                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


                                                          1657
   1719   1720   1721   1722   1723   1724   1725   1726   1727   1728   1729