Page 1729 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1729
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย วิจัยการกักกันพืช
3. ชื่อการทดลอง การศึกษาชนิดของศัตรูพืชที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์มะระที่นำเข้าจาก
ต่างประเทศ
Study on Quarantine Pests Associated with the Imported
Bitter gourd (Momordica charantia L.) Seeds
1/
4.คณะผู้ดำเนินงาน ศรีวิเศษ เกษสังข์ วันเพ็ญ ศรีชาติ 1/
ชลธิชา รักใคร่ ปรียพรรณ พงศาพิชณ์ 1/
1/
วานิช คำพานิช โสภา มีอำนาจ 1/
1/
5. บทคัดย่อ
จากการสืบค้นข้อมูลศัตรูพืชของมะระ พบศัตรูพืชทั้งสิ้นจำนวน 153 ชนิด เป็นแมลง 94 ชนิด
ไร 5 ชนิด ไส้เดือนฝอย 7 ชนิด เชื้อรา 31 ชนิด แบคทีเรีย 4 ชนิด ไวรัส 11 ชนิด และวัชพืช 1 ชนิด
จากการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์มะระ นำเข้าจาก 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอาร์เจนตินา ชิลี อินเดีย อิตาลี
ญี่ปุ่น โปแลนด์และสหรัฐอเมริกา จำนวน 2,245 กิโลกรัม จากการนำเมล็ดพันธุ์มาตรวจสอบเบื้องต้น
ภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ ไม่พบศัตรูพืชกับเมล็ดพันธุ์นำเข้า ไม่พบลักษณะอาการผิดปกติ
ไม่มีร่องรอยการทำลายของแมลงศัตรูพืชและไม่มีวัชพืชติดมากับเมล็ดพันธุ์ดังกล่าว เมล็ดพันธุ์บรรจุอยู่ใน
บรรจุภัณฑ์สะอาด ปิดมิดชิด และจากการตรวจสอบเชื้อโรคขั้นละเอียดในห้องปฏิบัติการด้วยวิธี Blotter
method พบว่าเมล็ดพันธุ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศพบเชื้อรา 4 ชนิด ได้แก่ Alternaria tenuis,
Ulocladium sp. และ Cladosporium sp. และ Curvularia pallescens การตรวจเมล็ดพันธุ์มะระ
ด้วยวิธี Dilution technique และการนำเมล็ดพันธุ์ปลูกสังเกตอาการของโรคในโรงเรือน (Seedling
symptom) ไม่พบเชื้อแบคทีเรียที่น่าสงสัยจะเป็นเชื้อก่อโรคและไม่พบอาการผิดปกติกับต้นมะระ
ซึ่งเมล็ดพันธุ์นำเข้าบางประเทศมีการเคลือบสารเคมี ได้แก่ Thiram, Iprodione และ Metalaxyl
และอาจมีการคลุกด้วยสารเคมี 2 ชนิดร่วมกัน และผลการติดตามตรวจสอบศัตรูพืชในแปลงปลูก
เมล็ดพันธุ์มะระนำเข้าจากต่างประเทศ จากการตรวจแล้ว ไม่พบศัตรูพืช จากผลการศึกษาทั้งใน
ห้องปฏิบัติการและในแปลงปลูก ไม่พบศัตรูพืชกักกันของประเทศไทย
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
- ได้ข้อมูลศัตรูพืชที่เก็บไว้เป็นหลักฐานทางวิชาการ
- สามารถเผยแพร่ข้อมูลศัตรูพืชและศัตรูพืชกักกันที่สำคัญของพืชนำเข้าให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1662