Page 1725 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1725
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย วิจัยการกักกันพืช
3. ชื่อการทดลอง การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลพลับสด
นำเข้าจากรัฐอิสราเอล
Study on Pest Risk Analysis of Fresh Persimmon Fruit Imported
from State of Israel
1/
4.คณะผู้ดำเนินงาน วรัญญา มาลี พรพิมล อธิปัญญาคม 1/
ภัทรา อุปดิษฐ์ คมศร แสงจินดา 1/
1/
ณัฏฐพร อุทัยมงคล 1/
5. บทคัดย่อ
ผลสดของพืชในสกุลไดออสไพรอส Diospyros spp. ซึ่งรวมถึงผลพลับสด จัดเป็นสิ่งต้องห้าม
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืช และพาหะจากแหล่งที่กำหนดเป็นสิ่งต้องห้าม
ข้อยกเว้น และเงื่อนไขตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550 การนำเข้าเพื่อ
การค้าต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช ซึ่งรัฐอิสราเอลมีความประสงค์ขอให้ประเทศไทยพิจารณา
อนุญาตการนำเข้าผลพลับสด (Diospyros kaki) จากรัฐอิสราเอล จึงได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์และ
ประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชของผลพลับสดนำเข้าจากรัฐอิสราเอล ที่กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัย
พัฒนาการอารักขาพืช ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2558 เพื่อทราบชนิดศัตรูพืชกักกัน
และแนวทางการกำหนดมาตรการทางวิชาการด้านสุขอนามัยพืชสำหรับจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชในการ
นำเข้าผลพลับสดจากรัฐอิสราเอล ผลการศึกษาพบว่าศัตรูพืชกักกันของผลพลับสดนำเข้าจากรัฐอิสราเอล
มีจำนวน 8 ชนิด ได้แก่ แมลงวันผลไม้ Ceratitis capitata หนอนเจาะผล Lobesia botrana เพลี้ยหอย
ได้แก่ Abgrallaspis cyanophylli และ Parlatoria oleae เพลี้ยแป้ง Pseusococcus viburni
เพลี้ยไฟ Retithrips syriacus หนอนผีเสื้อ Sesamia nonagrioides และ รา Monilinia fructigena
ศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ แมลงวันผลไม้ C. capitata จำเป็นต้องดำเนินมาตรการเฉพาะสำหรับ
จัดการความเสี่ยงศัตรูพืชกักกันดังกล่าวก่อนส่งออก เช่น การกำจัดแมลงวันผลไม้ด้วยความเย็น
ก่อนส่งออกหรือระหว่างขนส่ง การฉายรังสี หรือผลพลับต้องมาจากเขตปลอดแมลงวันผลไม้ สำหรับ
ศัตรูพืชกักกันชนิดอื่นๆ สำหรับมาตรการจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชกักกันชนิดอื่น เช่น การรมด้วยสารรม
เมทิลโบรไมด์ก่อนส่งออก การจัดการศัตรูพืชในสวน การจัดการศัตรูพืชหลังเก็บเกี่ยวในโรงคัดบรรจุ
การตรวจสอบศัตรูพืชก่อนส่งออก หรือใช้มาตรการหลายอย่างรวมกันอย่างเป็นระบบ
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1658