Page 1745 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1745

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยการกักกันพืช

                       3. ชื่อการทดลอง             การสำรวจสถานภาพของรา Claviceps ในประเทศไทย

                                                   Pest status survey of Claviceps in Thailand
                                                                     1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          พรพิมล  อธิปัญญาคม           สุณีรัตน์  สีมะเดื่อ 1/
                                                                    1/
                                                   ชนินทร  ดวงสะอาด             พจนา  ตระกูลสุขรัตน์ 1/
                       5. บทคัดย่อ
                              สืบค้นข้อมูลรา Claviceps ที่มีรายงานพบในประเทศไทย พบว่ามีในปี 2557 มีการระบาด

                       ของโรคเออร์กอทในข้าวฟ่างสาเหตุเกิดจาก Claviceps sorghi (Sphacelia sorghi) ที่อำเภอมวกเหล็ก

                       จังหวัดสระบุรี จากผลการสำรวจสถานภาพของรา Claviceps ในช่วงเดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือน
                       กันยายน 2558 ในแปลงปลูกข้าวฟ่าง และข้าว รวมทั้งพืชวงศ์กก และพืชวงศ์หญ้า ใน 24 จังหวัด ได้แก่

                       จังหวัดกระบี่ กาญจนบุรี ขอนแก่น จันทบุรี ชลบุรี ชุมพร เชียงใหม่ ตาก นครปฐม นครราชสีมา
                       นครสวรรค์ พังงา พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี ลำพูน สระบุรี สุพรรณบุรี

                       สุราษฎร์ธานี และอุตรดิตถ์ โดยเก็บตัวอย่างช่อดอกข้าวฟ่าง พืชวงศ์กก พืชวงศ์หญ้า จำนวน 128 ตัวอย่าง
                       ผลจากการสำรวจครั้งนี้ไม่พบ รา Claviceps elegans, C. gigantean และ C. purpurea ซึ่งเป็นศัตรูพืช

                       กักกันของประเทศไทย รวมทั้งไม่พบรา C. sorghi สาเหตุโรคเออร์กอทของข้าวฟ่างด้วยเช่นกัน อาจเป็นเพราะ

                       พื้นที่การปลูกข้าวฟ่างมีน้อยลง และมีการศึกษาปรับปรุงพันธุ์ข้าวฟ่างมากขึ้น จึงเป็นไปได้ที่ทำให้ไม่พบการ
                       ระบาดของโรคเออร์กอท

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการนำไปใช้ศึกษาต่อไป


















                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


                                                          1678
   1740   1741   1742   1743   1744   1745   1746   1747   1748   1749   1750