Page 1750 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1750
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย อนุกรมวิธาน ชีววิทยาและเทคนิคการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและ
ศัตรูธรรมชาติ
3. ชื่อการทดลอง อนุกรมวิธานเพลี้ยหอยเกราะอ่อนสกุล Coccus (Hemiptera :
Coccidae) ในประเทศไทย
Taxonomy of Soft Scale Insect in Genus Coccus (Hemiptera :
Coccidae) of Thailand
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ชมัยพร บัวมาศ จารุวัตถ์ แต้กุล 1/
1/
สุนัดดา เชาวลิต อิทธิพล บรรณาการ 1/
เกศสุดา สนศิริ สิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์ 1/
1/
5. บทคัดย่อ
เพลี้ยหอยเกราะอ่อนสกุล Coccus Linnaeus, 1758 (Hemiptera : Coccidae) มีเขตการ
แพร่กระจายเกือบทั่วโลก มีรายงานจำนวนชนิดมากถึง 112 ชนิดทั่วโลกและยังเป็นศัตรูที่สำคัญของพืช
เศรษฐกิจอีกหลายชนิด แต่สำหรับในประเทศไทย มีรายงานเพียง 2 ชนิดเท่านั้น การศึกษาอนุกรมวิธาน
ของเพลี้ยหอยเกราะอ่อนสกุล Coccus ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงเดือนกันยายน 2558
เพื่อทราบชนิดพืชอาศัย การกระจาย ที่มีอยู่ในประเทศไทย สำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างเพลี้ยหอย
จากแหล่งปลูกพืชต่างๆ ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้
นำตัวอย่างที่รวบรวมได้มาทำสไลด์ถาวรและตรวจจำแนกชนิดตามหลักอนุกรมวิธาน ณ ห้องปฏิบัติการ
กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช พบเพลี้ยหอยเกราะอ่อน
สกุล Coccus จำนวน 2 ชนิด คือ เพลี้ยหอยเกราะอ่อนสีน้ำตาล; Coccus hesperidum Linnaeus
พบดูดน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบและกิ่ง ของพืชในวงศ์ Araceae (เดหลี) Costaceae (เอื้องหมายนา)
Verbenaceae (บุหง่าสาหรี) และดูดน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบ กิ่งและขั้วผลของพืชในวงศ์ Rubiaceae
(กาแฟ) Myrtaceae (ฝรั่ง) Anacardiaceae (มะปรางหวาน, มะม่วง) และเพลี้ยหอยกาแฟสีเขียว;
Coccus viridis (Green) พบดูดน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบ กิ่งและขั้วผลของพืชในวงศ์ Anacardiaceae
(มะม่วง) Apocynaceae (ลีลาวดี) Bignoniaceae (ทองอุไร) Meliaceae (สะเดา) Myrtaceae (หว้า)
Rubiaceae (กาแฟ) Phyllanthaceae (มะเม่า) และ Rutaceae (มะนาว) นอกจากนี้ยังสำรวจพบแมลง
ศัตรูธรรมชาติ คือ ด้วงเต่า; Cryptolaemus montrouzieri (Mulsant) (Coleoptera : Coccinellidae)
ซึ่งเป็นตัวห้ำของเพลี้ยหอยกาแฟสีเขียวอีกด้วย
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1683