Page 1749 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1749
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย แผนงานวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย อนุกรมวิธาน ชีววิทยาและเทคนิคการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและศัตรู
ธรรมชาติ
3. ชื่อการทดลอง การแพร่กระจายและความหลากหลายทางชีวภาพของหนูนาใหญ่
Rattus argentiventer (Robinson & Kloss, 1916) ในประเทศไทย
Distribution and Biodiversity of Rice field Rat, Rattus
argentiventer (Robinson and Kloss, 1916) in Thailand
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน สมเกียรติ กล้าแข็ง เกรียงศักดิ์ หามะฤทธิ์ 1/
1/
วิชาญ วรรธนะไกวัล ปราสาททอง พรหมเกิด 1/
ทรงทัพ แก้วตา 1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาการแพร่กระจายและความหลากหลายทางชีวภาพของหนูนาใหญ่, Rattus argentiventer
(Robinson & Kloss, 1916) ในประเทศไทย โดยการใช้กรงจับเป็นและบ่วงลวดดักหนู จากการศึกษา
พบว่า หนูนาใหญ่มีเขตการแพร่กระจายจากเดิมที่พบเฉพาะในภาคใต้และภาคกลาง จากการสำรวจ
และเก็บตัวอย่างในปัจจุบัน พบการแพร่กระจายทั่วทุกภูมิภาค โดยในภาคเหนือตอนล่างพบการแพร่กระจาย
ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ สุโขทัย พิษณุโลก จนถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบการ
แพร่กระจายตั้งแต่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ หนองบัวลำภู อุดรธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์
อุบลราชธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ภาคตะวันออก พบการแพร่กระจายจังหวัดปราจีนบุรีและ
จังหวัดฉะเชิงเทรา ภาคใต้ พบในจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง กระบี่
และจังหวัดตรัง ภาคกลาง พบการแพร่กระจายทุกจังหวัดที่มีการทำนา และการศึกษาลักษณะสัณฐาน
ของกระดูกรยางค์และกระดูกกะโหลกหนูนาใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละภูมิภาค พบว่ามีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติบางลักษณะ จากลักษณะที่ปรากฏดังกล่าว กลุ่มประชากรของหนูนาใหญ่เริ่มมี
ความแปรปรวนของลักษณะที่ปรากฏ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพแวดล้อม ทั้งภูมิอากาศและ
ภูมิประเทศ การดำรงกิจกรรมของคนในพื้นที่ที่ต่างกัน อีกทั้งการทำการเกษตรที่ต่างกันไป มีการผสม
พันธุ์กันทั้งภายในและภายนอกกลุ่ม ทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุให้กลุ่ม
ประชากรของหนูนาใหญ่แต่ละภูมิภาค เริ่มมีลักษณะบางประการที่เปลี่ยนแปลงไป
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
เพื่อเป็นฐานข้อมูลไว้ใช้ในการวิจัยต่อไป
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1682