Page 1809 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1809
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาอารักขาพืช
2. โครงการวิจัย อนุกรมวิธาน ชีววิทยา และเทคนิคการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและศัตรู
ธรรมชาติ
3. ชื่อการทดลอง การพัฒนาชุดตรวจสอบแบบ Immuno - Strip เพื่อตรวจสอบเชื้อ
แบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. cattleyae ในกล้วยไม้
Development of Immuno - Strip Detection for Acidovorax
avenae subsp. cattleyae on Orchid
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน รุ่งนภา ทองเคร็ง ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล 1/
ทัศนาพร ทัศคร บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ 1/
1/
ทิพวรรณ กันหาญาติ 1/
5. บทคัดย่อ
พัฒนาชุดตรวจสอบอิมมูโนสตริปเพื่อตรวจสอบแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp.
cattleyae ในกล้วยไม้ โดยอาศัยหลักการทางเซรุ่มวิทยา (serology) และ lateral flow technique
บนแผ่นไนโตรเซลลูโลสเมมเบรน (Nitrocellulose membrane; NCM) โดยผลิตแอนติซีรั่มที่จำเพาะ
ต่ อ เชื้ อ Acidovorax avenae subsp. cattleyae ด้ ว ย Membrane protein complex (MPC)
ทำการสกัด IgG โดยนำอนุภาคทอง (colloidal gold) มาเชื่อมต่อ (conjugate) กับ IgG และเตรียม
conjugated release pad (CRP) ทำเส้น control line ด้วย Goat anti rabbit (GAR) และ test line
ด้วย IgG บนแผ่น membrane S&S-AE 99 เมื่อประกอบเป็นชุดตรวจสอบแล้ว ทำการทดสอบกับสาร
8
แขวนลอยแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. cattleyae ความเข้มข้น 10 หน่วยโคโลนี
ต่อมิลลิลิตร พบว่าชุดตรวจสอบอิมมูโนสตริป สามารถตรวจสอบแบคทีเรีย Acidovorax avenae
subsp. cattleyae ได้อย่างรวดเร็ว โดยเส้น control line และ test line ปรากฏสีในเวลา 5 นาที
จากการทดสอบประสิทธิภาพความไวของชุดตรวจสอบ สามารถตรวจแบคทีเรีย Acidovorax avenae
4
subsp. cattleyae ได้ในปริมาณต่ำสุด ที่ 10 หน่วยโคโลนีต่อมิลลิลิตร
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ได้ชุดตรวจสอบอิมมูโนสตริปที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจโรคใบจุดสีน้ำตาลของกล้วยไม้
ในสภาพแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
1742