Page 1810 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1810

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
                       2. โครงการวิจัย             การศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืช

                       3. ชื่อการทดลอง             วิจัยพัฒนาการตรวจเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเน่าและเน่าเละของ

                                                   กล้วยไม้ ด้วยเทคนิค PCR และ Real - time PCR
                                                   Detection of Rot and Soft Rot Orchid Disease using PCR and

                                                   Real - time PCR

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ปิยรัตน์  ธรรมกิจวัฒน์        สุรีย์พร  บัวอาจ 2/
                                                                     1/
                                                   รุ่งนภา  คงสุวรรณ์ 2/

                       5. บทคัดย่อ

                              การตรวจเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเน่าและเน่าเละของกล้วยไม้ด้วยเทคนิค PCR ทดสอบวิธีการ
                       ตรวจเชื้อแบคทีเรีย Burkholderia gladioli สาเหตุโรคเน่า ด้วยคู่ไพรเมอร์ที่สืบค้นจากเอกสารวิชาการ

                       พบการเกิดปฏิกิริยาไม่จำเพาะกับแบคทีเรียสาเหตุโรคกล้วยไม้ชนิดอื่น ทำการเปรียบเทียบลายพิมพ์
                       ดีเอ็นเอแบคทีเรียสาเหตุโรคกล้วยไม้ ด้วยไพรเมอร์ Box และ Eric เลือกแถบดีเอ็นเอที่จำเพาะต่อ

                       Burkholderia gladioli โคลนและวิเคราะห์ลำดับเบส ออกแบบไพรเมอร์ สังเคราะห์และทดสอบ
                       ปฏิกิริยาพีซีอาร์ พบว่า ไพรเมอร์ทั้ง 6 คู่ สามารถสังเคราะห์ดีเอ็นเอจำเพาะต่อ Burkholderia gladioli

                       ไพรเมอร์ที่ประสิทธิภาพดี ได้แก่ Bg_E510F/Bg_E510R1, Bg_E511F/ Bg_E511R, Bg_E5102F/

                       Bg_E5102R1 และ Bg_E5102F/ Bg_E5102R2 สังเคราะห์ดีเอ็นเอขนาด 220, 347, 170 และ 478
                       คู่เบส ตามลำดับ สำหรับการตรวจเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovora subsp. carotovora และ

                       Erwinia chrysanthemi สาเหตุโรคเน่าเละของกล้วยไม้ โดยไพรเมอร์ ERWFOR/CHRREV, ADE1/ADE2,

                       CHPG/R23-1R, LF/LR และ Ec3F/Ec4R พบว่าสามารถสังเคราะห์ดีเอ็นเอจากแบคทีเรียสาเหตุโรคเน่าเละ
                       มีขนาด 550 (690, 720), 420, 280, 171 และ 548 คู่เบส ตามลำดับ ไพรเมอร์ LF/LR มีประสิทธิภาพ

                       ในการตรวจเชื้อดีสุด ทดสอบปฏิกิริยา duplex PCR ในการตรวจเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเน่าเละ

                       ไพรเมอร์ ADE1/ADE2 และ LF/LR สามารถทำปฏิกิริยาร่วมกันได้แถบดีเอ็นเอขนาด 420 และ 171 คู่เบส
                       ตามลำดับ สำหรับปฏิกิริยา Real - time PCR ในการตรวจเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคกล้วยไม้ พบปัญหา

                       การเกิด false positive จำเป็นต้องพัฒนาคู่ไพรเมอร์และปฏิกิริยาการทดสอบให้เหมาะสมต่อไป
                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              เทคนิคพีซีอาร์สามารถใช้ในการตรวจเชื้อและจำแนกแบคทีเรียสาเหตุโรคกล้วยไม้ การตรวจ

                       วินิจฉัยโรค และเฝ้าระวังการติดเข้ามาของศัตรูพืชจากการนำเข้าต้นพันธุ์จากต่างประเทศ ติดตามการ
                       แพร่ระบาดในกล้วยไม้สกุลต่างๆ มีข้อมูลเพื่อประกอบการวินิจฉัยโรค วางแผนการจัดการโรค และการ

                       คัดพันธุ์ต้านทานโรค จะช่วยป้องกันปัญหาความเสียหายของธุรกิจการส่งออกกล้วยไม้ของประเทศได้


                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
                        สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
                       2/
                                                          1743
   1805   1806   1807   1808   1809   1810   1811   1812   1813   1814   1815