Page 1814 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1814

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการอารักขาพืช
                       2. โครงการวิจัย             อนุกรมวิธาน ชีววิทยาและเทคนิคการตรวจวินิจฉัยศัตรูพืชและศัตรู

                                                   ธรรมชาติ

                       3. ชื่อการทดลอง             การพัฒนาวิธีการตรวจสอบเชื้อ Grapevine yellow speckle viroid
                                                   (GYSVd) เชื้อสาเหตุโรคในองุ่นด้วยวิธีอณูชีววิทยา

                                                   Development of Detection Technique for Grapevine yellow

                                                   speckle viroid (GYSVd) Causing Grapevine Disease by Molecular
                                                   Technique

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ปริเชษฐ์  ตั้งกาญจนภาสน์      คะนึงนิตย์  เหรียญวรากร 2/
                                                                         1/
                                                   กาญจนา  วาระวิชะนี 1/
                       5. บทคัดย่อ

                              เชื้อ Grapevine yellow speckle viroid 1 (GYSVd-1) และ Grapevine yellow speckle
                       viroid 2 (GYSVd-2) เป็นเชื้อสาเหตุโรค “grapevine yellow speckle disease” ในองุ่น พบได้ทั่วไป

                       ในหลายพื้นที่ที่มีการปลูกองุ่น สามารถถ่ายทอดโรคผ่านทางท่อนพันธุ์และวัสดุอุปกรณ์เกษตรที่ปนเปื้อนเชื้อ
                       ได้ง่าย ทำให้เชื้อไวรอยด์ดังกล่าวสามารถแพร่กระจายโรคได้ง่ายและรวดเร็ว ประกอบกับในปัจจุบัน

                       มีผู้ศึกษาเชื้อดังกล่าวน้อยมาก ทำให้มีข้อมูลผลกระทบของโรคชนิดนี้น้อยตามไปด้วย ดังนั้นการศึกษา

                       พัฒนาวิธีการในการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพ มีความถูกต้องแม่นยำสูง จึงมีความจำเป็นต่อการศึกษา
                       เชื้อไวรอยด์ทั้ง 2 ชนิด จากการสำรวจโรคไวรัสและไวรอยด์ในพื้นที่ปลูกองุ่นในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและ

                       นครราชสีมา เดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม ปี 2557 ตรวจพบองุ่นแสดงอาการผิดปกติ ใบมีจุดเหลือง

                       (chlorosis) กระจายทั่วใบ เมื่อนำมาตรวจสอบด้วยเทคนิคอณูชีวโมเลกุลโดยการสกัดอาร์เอ็นเอด้วยวิธี
                       CTAB method และปฏิกิริยา RT-PCR โดยใช้คู่ไพรเมอร์ GYSVd1 (c-GYSVd1 : CGAGGCTCACT

                       CCCCCTCTGCC/ h-GYSVd1 : TCGTCGACGAAGGGGTGCACTCC) และ GYSVd2 (upper) (c-GYSVd2

                       (upper) : GGTCCGCGGAGGCCTTCCGAGG/ h-GYSVd2 (upper) : TGCAGAGAAAAGAAGAAGGGC
                       CCAG) สามารถตรวจพบเชื้อ GYSVd-1 จำนวน 6 ตัวอย่าง และ GYSVd-2 จำนวน 11 ตัวอย่าง

                       จากตัวอย่างใบองุ่นทั้งสิ้น 20 ตัวอย่าง โดยเชื้อ GYSVd-1 ที่ตรวจพบมีขนาดตั้งแต่ 353 - 389 นิวคลีโอไทด์
                       และเชื้อ GYSVd-2 มีขนาดตั้งแต่ 362 - 365 นิวคลีโอไทด์ ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้เป็นการตรวจพบเชื้อ

                       GYSVd-2 ครั้งแรกในประเทศไทย

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
                              พัฒนาต่อ




                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
                       2/ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
                                                          1747
   1809   1810   1811   1812   1813   1814   1815   1816   1817   1818   1819