Page 1846 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1846
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชไร่และพืชทดแทนพลังงานในสภาวะ
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
2. โครงการวิจัย วิจัยและศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ต่อการผลิตพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
3. ชื่อการทดลอง ผลของสภาพดินขาดน้ำและการใส่ปุ๋ย NP ในช่วงฟื้นตัวของข้าวโพดหวาน
Effects of Drought and Nitrogen and Phosphorus Fertilization
During Recovery from Drought Stress to Sweet Corn
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน จิราลักษณ์ ภูมิไธสง อัจฉรา จอมสง่าวงศ์ 1/
เชาวนาถ พฤทธิเทพ สุมนา งามผ่องใส 1/
1/
5. บทคัดย่อ
การปลูกข้าวโพดหวานภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ อาจเกิดสภาวะขาดน้ำได้
การใส่ปุ๋ยไนโตรเจน และฟอสฟอรัสในช่วงฟื้นตัวของข้าวโพดหวานหลังการให้น้ำ 2 วัน เป็นแนวทาง
ช่วยให้ข้าวโพดหวานมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ จึงทำการทดลองบนดินร่วนปนเหนียว (Clay loam)
ฤดูแล้งปี 2557 และ 2558 ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท โดยวางแผนการทดลองแบบ split plot จำนวน 4 ซ้ำ
Main plot ได้แก่ ระดับน้ำในดิน 2 ระดับ คือ ได้รับน้ำพอเพียงตลอดฤดูปลูก และสภาพขาดน้ำ
Subplot ประกอบด้วยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน และปุ๋ยฟอสเฟตให้กับข้าวโพดเมื่อระยะฟื้นตัว โดยใส่ที่ 2 วัน
หลังเริ่มฟื้นตัว (37 วันหลังงอก) 4 ระดับ ได้แก่ 1) ไม่มีการใส่ปุ๋ย 2) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 15 กิโลกรัม
N ต่อไร่ 3) ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 15 กิโลกรัม P O ต่อไร่ 4) ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน อัตรา 15 กิโลกรัม N ต่อไร่
2 5
ร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟต อัตรา 15 กิโลกรัม P O ต่อไร่ ผลการทดลองปี 2557 พบว่า ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
2 5
ระดับน้ำในดินและการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนและปุ๋ยฟอสเฟตในช่วงฟื้นตัวในส่วนของน้ำหนักฝักทั้งเปลือก
และน้ำหนักฝักปอกเปลือก การให้น้ำแก่ข้าวโพดหวานอย่างเพียงพอหรือการขาดน้ำ ให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือก
และน้ำหนักฝักปอกเปลือก ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่มีความแตกต่างกันเมื่อมีการให้ปุ๋ยในช่วงฟื้นตัว
ของข้าวโพด โดยการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟตให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือกสูงกว่าการใส่ปุ๋ย
ไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสเฟต และไม่มีการใส่ปุ๋ยเลย ประมาณ 12 67 และ 73 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ แต่การใส่ปุ๋ย
ไนโตรเจน และปุ๋ยไนโตรเจนร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟต ให้น้ำหนักฝักปอกเปลือกสูงกว่าการใส่ปุ๋ยฟอสเฟต
และไม่ใส่ปุ๋ยเลย อยู่ในช่วง 63 - 67 และ 70 - 72 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าต่อการลงทุน
พบว่า การให้น้ำอย่างเพียงพอตลอดฤดูปลูก หรือข้าวโพดประสบภาวะขาดน้ำ จะให้ผลตอบแทนทาง
เศรษฐกิจ (VCR) สูงสุดเมื่อมีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน หรือปุ๋ยไนโตรเจนร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟต สำหรับผลการ
ทดลองปี 2558 ให้ผลในทำนองเดียวกับปี 2557 ข้าวโพดหวานที่ประสบภาวะขาดน้ำหรือมีการให้น้ำ
อย่างเพียงพอ ข้าวโพดหวานให้น้ำหนักฝักทั้งเปลือก และน้ำหนักฝักปอกเปลือกไม่แตกต่างกัน การใส่ปุ๋ย
ไนโตรเจนร่วมกับปุ๋ยฟอสเฟต และการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือก ผลผลิตฝักปอกเปลือกสูงกว่า
____________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท
1779