Page 1848 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1848
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตพืชไร่และพืชทดแทนพลังงานในสภาวะ
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
2. โครงการวิจัย วิจัยการศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
ต่อการผลิตพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
3. ชื่อการทดลอง ผลของช่วงวันปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตงา
Effects of Sowing Dates on Growth and Yield of Sesame
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ประภาพร แพงดา อรอนงค์ วรรณวงษ์ 1/
1/
บุญเหลือ ศรีมุงคุณ ลักขณา ร่มเย็น 1/
1/
จำลอง กกรัมย์ พรพรรณ สุทธิแย้ม 2/
5. บทคัดย่อ
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของวันปลูกต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตงา ในฤดูกาล
ที่แตกต่างกัน โดยดำเนินการทดลองในฤดูแล้ง ปี 2556 - 2557 และฤดูฝน ปี 2557 - 2558 ที่ศูนย์วิจัย
พืชไร่อุบลราชธานี ปลูกงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 2 และวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 10 กรรมวิธี
(วันปลูก) โดยแต่ละกรรมวิธีปลูกงาห่างกัน 15 วัน ผลการทดลอง ฤดูแล้ง การปลูกงาตั้งแต่กลางเดือน
กุมภาพันธ์ ถึงปลายเดือนมีนาคม งามีการเจริญเติบโต ด้านความสูง และน้ำหนักต้นแห้ง มากกว่าการ
ปลูกงาในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงกลางเดือนมกราคม ปี 2557 งาที่ปลูก วันที่ 14 กุมภาพันธ์
ให้ผลผลิตสูงที่สุด 103 กิโลกรัมต่อไร่ ปี 2558 วันปลูก 31 มีนาคม ให้ผลผลิตสูงสุด 94 กิโลกรัมต่อไร่
ส่วนฤดูฝนเริ่มกลางเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนกันยายน วันปลูกช่วงกลางเดือนเมษายน ถึงต้นเดือนมิถุนายน
งามีความสูง และน้ำหนักต้นแห้ง สูงกว่าการปลูกงากลางเดือนมิถุนายนถึงกันยายน และพบว่า ปี 2557
และปี 2558 ปลูกงากลางเดือนเมษายน ให้ผลผลิตสูงสุด 69 และ 64 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
เป็นข้อมูลสำหรับใช้กำหนดวันปลูกงา ผู้ใช้ประโยชน์ ได้แก่ เกษตรกร นักวิจัย และผู้สนใจ
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี
2/ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่
1781