Page 1905 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1905

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
                       2. โครงการวิจัย             การศึกษาการจัดการธาตุอาหาร ดิน ปุ๋ย และโลหะหนัก ที่มีความ

                                                   เฉพาะเจาะจงกับลักษณะดิน

                       3. ชื่อการทดลอง             ศึกษาการประเมินการสูญหายของปุ๋ยไนโตรเจนโดยการระเหิดในสภาพ
                                                   พื้นที่ปลูก

                                                   Using  Field  Experiment  to  Evaluation  of  Ammonia

                                                   Volatilization Losses from Different Nitrogen Fertilizers
                                                                   1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          กิตจเมธ  แจ้งศิริกุล         ศุภกาญจน์  ล้วนมณี 2/
                                                   รมิดา  ขันตรีกรม             ณัฐพงศ์  ศรีสมบัติ 1/
                                                                  1/
                                                   แววตา  พลกุล                 ดาวรุ่ง  คงเทียน 2/
                                                               1/
                                                   อนันต์  ทองภู 1/

                       5. บทคัดย่อ
                              ศึกษาการประเมินการสูญหายของปุ๋ยไนโตรเจน โดยการระเหิดในสภาพพื้นที่ปลูกในพื้นที่ดินด่าง

                       โดยใช้ชุดดินตาคลี ทำการทดลองในปี 2553 - 2555 และใช้ชุดดินสมอทอด ในปี 2556 - 2558 ทำการ
                       ทดลองปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชทดสอบ ที่แปลงศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ตำบลสุขสำราญ

                       อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการใส่ปุ๋ยและชนิดของปุ๋ยไนโตรเจน

                       กับอัตราการเกิดก๊าซแอมโมเนีย วางแผนการทดลองแบบ 2 x 3 Factorial in Randomized Complete
                       Block ทำ 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 คือ วิธีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ได้แก่ ใส่ปุ๋ยแบบกลบ และ

                       ใส่ปุ๋ยแบบหว่าน ปัจจัยที่ 2 คือ ชนิดของปุ๋ย คือ ไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียม

                       ซัลเฟต (21-0-0) และใส่ปุ๋ยเชิงประกอบที่มีธาตุไนโตรเจน (16-20-0)
                              ผลการทดลองปีแรก พบว่า การใส่ปุ๋ยยูเรียมีอัตราการระเหิดสูงสุด เฉลี่ย 20 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณ

                       ไนโตรเจนทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในปุ๋ย รองลงมาคือ ปุ๋ยแอมโนเนียมซัลเฟตมีอัตราการระเหิด เฉลี่ย

                       14 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด และปุ๋ยเชิงประกอบ (16-20-0) มีอัตราการระเหิดต่ำสุด
                       เฉลี่ย 7 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด หลังจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ที่ระยะเวลา 7 วัน พบว่า

                       มีอัตราการระเหิดสูงสุด และเริ่มคงที่เมื่อระยะเวลา 14 วัน หลังจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในทุกกรรมวิธี สำหรับ
                       วิธีการใส่ปุ๋ย การกลบปุ๋ย ทำให้อัตราการระเหิดของไนโตรเจนต่ำกว่าการใส่ปุ๋ยแบบหว่านปุ๋ยทุกกรรมวิธี

                       การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพด พบว่าความสูงของข้าวโพดที่อายุ 30 และ 60 วัน จำนวนต้นต่อไร่

                       น้ำหนักต้นต่อไร่ จำนวนฝักต่อไร่ น้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อไร่ และเปอร์เซ็นต์กะเทาะเมล็ด
                       แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยเชิงประกอบ (16-20-0) แบบกลบ

                       มีแนวโน้มให้ผลผลิตที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อไร่สูงสุด เท่ากับ 1,290 กิโลกรัมต่อไร่
                       __________________________________________

                       1/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
                       2/ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์


                                                          1838
   1900   1901   1902   1903   1904   1905   1906   1907   1908   1909   1910