Page 1910 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1910
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขอนแก่น
2. โครงการวิจัย การศึกษาการจัดการธาตุอาหาร ดิน ปุ๋ยและโลหะหนัก ที่มีความเฉพาะ
เจาะจงกับลักษณะดิน
3. ชื่อการทดลอง การศึกษาการป้องกันการสูญหายของธาตุอาหารในพื้นที่ลาดชัน
Study on Loss Protection of Plant Nutrients on Sloping Land
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน ชูศักดิ์ สัจจพงษ์ อรัญญ์ ขันติยวิชย์ 1/
กิตจเมธ แจ้งศิริกุล จินดารัตน์ ชื่นรุ่ง 2/
2/
อุชฎา สุขจันทร์ 1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาการป้องกันการสูญหายของธาตุอาหารในพื้นที่ลาดชันได้ดำเนินการทดลองที่
แปลงทดลองเขาสวนกวาง ศูนย์วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
โดยมีระยะเวลาดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2555 ถึงกันยายน 2558 ทำการทดลองปลูก
มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9 ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน 2 - 5 เปอร์เซ็นต์ วางแผนการทดลองแบบ
Randomized Complete Block Design มี 4 ซ้ำ 4 กรรมวิธี ได้แก่ 1) ปลูกหญ้าแฝกตามแนว Contour
2) ปลูกหญ้าแฝกตามแนว Contour + ปลูกถั่วพร้าคลุมดิน 3) ปลูกถั่วพร้าคลุมดิน 4) Control ผลการ
ทดลอง พบว่า การปลูกหญ้าแฝกตามแนว Contour ปลูกหญ้าแฝกตามแนว Contour + ปลูกถั่วพร้าคลุมดิน
และปลูกถั่วพร้าคลุมดินอย่างเดียว ช่วยลดปริมาณน้ำสูญหายและปริมาณดินสูญหายได้มากที่สุด การปลูก
หญ้าแฝกตามแนว Contour ทำให้มันสำปะหลังมีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตมากที่สุด 2,949 - 3,029
กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลัง เฉลี่ย 14.63 - 21.60 เปอร์เซ็นต์
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
สามารถนำข้อมูลผลงานวิจัยที่ได้แนะนำเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ที่มีความลาดชัน
2 - 5 เปอร์เซ็นต์ ในการป้องกันการสูญหายของธาตุอาหารได้
__________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรขอนแก่น
2/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
1843