Page 1906 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1906
ผลการทดลองปีที่สอง การใส่ปุ๋ยยูเรียมีอัตราการระเหิดสูงสุด เฉลี่ย 21 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณ
ไนโตรเจนทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในปุ๋ย รองลงมาคือ ปุ๋ยแอมโนเนียมซัลเฟต มีอัตราการระเหิด
เฉลี่ย 14.5 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด และปุ๋ยเชิงประกอบ (16-20-0) มีอัตราการระเหิด
ต่ำสุด เฉลี่ย 7.3 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด หลังจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ที่ระยะเวลา 7 วัน
พบว่ามีอัตราการระเหิดสูงสุด และเริ่มคงที่เมื่อระยะเวลา 14 วัน หลังจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ในทุกกรรมวิธี
สำหรับวิธีการใส่ปุ๋ย การกลบปุ๋ย ทำให้อัตราการระเหิดของไนโตรเจนต่ำกว่าการใส่ปุ๋ยแบบหว่านปุ๋ย
ทุกกรรมวิธี การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพด พบว่าความสูงของข้าวโพดที่อายุ 30 และ 60 วัน
จำนวนต้นต่อไร่ น้ำหนักต้นต่อไร่ จำนวนฝักต่อไร่ น้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อไร่ และ
เปอร์เซ็นต์กะเทาะเมล็ดแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยเชิงประกอบ
(16-20-0) แบบกลบ มีแนวโน้มให้ผลผลิตที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อไร่สูงสุด เท่ากับ 1,325 กิโลกรัมต่อไร่
ผลการทดลองปีที่สาม พบว่า การใส่ปุ๋ยยูเรียมีอัตราการระเหิดสูงสุด เฉลี่ย 21.1 เปอร์เซ็นต์
ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในปุ๋ย รองลงมาคือ ปุ๋ยแอมโนเนียมซัลเฟตมีอัตรา
การระเหิด เฉลี่ย 12.4 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด และปุ๋ยเชิงประกอบ (16-20-0) มีอัตรา
การระเหิดต่ำสุด เฉลี่ย 7.2 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด หลังจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ที่ระยะเวลา
7 วัน พบว่ามีอัตราการระเหิดสูงสุด และเริ่มคงที่เมื่อระยะเวลา 14 วัน หลังจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ในทุก
กรรมวิธี สำหรับวิธีการใส่ปุ๋ย การกลบปุ๋ย ทำให้อัตราการระเหิดของไนโตรเจนต่ำกว่าการใส่ปุ๋ยแบบหว่านปุ๋ย
ทุกกรรมวิธี การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพด พบว่าความสูงของข้าวโพดที่อายุ 30 และ 60 วัน
จำนวนต้นต่อไร่ น้ำหนักต้นต่อไร่ จำนวนฝักต่อไร่ น้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อไร่ และ
เปอร์เซ็นต์กะเทาะเมล็ดแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยเชิงประกอบ
(16-20-0) แบบกลบ มีแนวโน้มให้ผลผลิตที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อไร่สูงสุด เท่ากับ 1,195 กิโลกรัมต่อไร่
ผลการทดลองปีที่สี่ พบว่า การใส่ปุ๋ยยูเรียมีอัตราการระเหิดสูงสุด เฉลี่ย 20.5 เปอร์เซ็นต์
ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมดที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในปุ๋ย รองลงมาคือ ปุ๋ยแอมโนเนียมซัลเฟตมีอัตรา
การระเหิด เฉลี่ย 12.1 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด และปุ๋ยเชิงประกอบ (16-20-0) มีอัตรา
การระเหิดต่ำสุด เฉลี่ย 7.3 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด หลังจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ที่ระยะเวลา
7 วัน พบว่ามีอัตราการระเหิดสูงสุด และเริ่มคงที่เมื่อระยะเวลา 14 วัน หลังจากใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ในทุก
กรรมวิธี สำหรับวิธีการใส่ปุ๋ย การกลบปุ๋ย ทำให้อัตราการระเหิดของไนโตรเจนต่ำกว่าการใส่ปุ๋ยแบบหว่านปุ๋ย
ทุกกรรมวิธี การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพด พบว่าความสูงของข้าวโพดที่อายุ 30 และ 60 วัน
จำนวนต้นต่อไร่ น้ำหนักต้นต่อไร่ จำนวนฝักต่อไร่ น้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อไร่ และ
เปอร์เซ็นต์กะเทาะเมล็ด แตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยเชิงประกอบ
(16-20-0) แบบกลบ มีแนวโน้มให้ผลผลิตที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อไร่สูงสุด เท่ากับ 1,242 กิโลกรัมต่อไร่
จากผลการทดลองทั้ง 2 ชุดดิน ดังกล่าว พบว่า ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปปุ๋ยเชิงประกอบที่มีธาตุ
ไนโตรเจน (16-20-0) หรือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ในพื้นที่ดินด่าง ซึ่งมีอัตราการระเหิดของไนโตรเจน
ต่ำกว่าการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปปุ๋ยยูเรีย และการใส่ปุ๋ยแบบกลบทำให้อัตราการระเหิดของไนโตรเจน
ต่ำกว่าการใส่ปุ๋ยแบบหว่าน
1839