Page 1915 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1915
ปี 2557 ทดลองที่ ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ชุดดินปากช่อง ศึกษาวิธีการ
ปรับใช้ค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับและปลดปล่อยฟอสฟอรัส การบ่มในห้องปฏิบัติการเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์
การดูดซับและการปลดปล่อยฟอสฟอรัส พบว่าสัมประสิทธิ์การดูดซับและการปลดปล่อยฟอสฟอรัสของ
ชุดดินปากช่อง มีค่าเท่ากับ 0.46 แล้วการประเมินการใช้ปุ๋ยฟอสเฟตจากค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับ/การ
ปลดปล่อยฟอสฟอรัส ในสภาพพื้นที่ปลูก ได้คำแนะนำปริมาณความต้องการปุ๋ยฟอสเฟตจากสมการ
คาดคะเนที่ระดับ 1.0 P Requirement มีค่าเท่ากับ 0.5 กิโลกรัม P O ต่อไร่ จึงวางแผนการทดลองแบบ
2 5
Randomized Complete Block มี 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ ที่ระดับ 0 P Requirement 0.5 P Requirement
1.0 P Requirement 1.5 P Requirement 2.0 P Requirement 2.5 P Requirement และ 3.0 P Requirement ซึ่งใส่ปุ๋ยเคมี
อัตรา 10-0-5 10-0.25-5 10-0.5-5 10-0.75-5 10-1.0-5 10-1.25-5 และ 10-1.5-5 กิโลกรัม
N-P O -K O ต่อไร่ ผลการทดลองพบว่า น้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
2 5 2
ทางสถิติ โดยกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยอัตรา 10-0.5-5 กิโลกรัม N-P O -K O ต่อไร่ (1.0 P Requirement ) ให้น้ำหนัก
2 5 2
เมล็ดที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์สูงสุดเท่ากับ 743 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนกรรมวิธีการใส่ปุ๋ยอัตรา 10-0-5
กิโลกรัม N-P O -K O ต่อไร่ (1.0 P Requirement ) ให้น้ำหนักเมล็ดที่ความชื้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อไร่ต่ำสุด
2 5 2
เท่ากับ 565 กิโลกรัมต่อไร่ จากผลการทดลองดังกล่าวจะพบว่าปริมาณผลผลิตข้าวโพดต่ำกว่าศักยภาพ
ของพันธุ์ อาจมีสาเหตุจากเกิดปัญหาภัยแล้งปริมาณน้ำฝนน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของข้าวโพด
ที่ทดลอง
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ข้อมูลการดูดซับและการปลดปล่อยฟอสฟอรัสของดิน สามารถนำไปใช้ในการให้คำแนะนำ
การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตในพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาศักยภาพ
ของดินในการผลิตข้าวโพดอย่างยั่งยืนต่อไป
2. สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ไปขยายผลหรือปรับใช้กับชุดดินอื่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์
กับนักวิชาการเกษตรของกรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานอื่นๆ นำไปใช้ในการพัฒนางานวิจัยด้านดินและปุ๋ย
และสามารถให้คำแนะนำการใช้ปุ๋ยแก่เกษตรกรได้อย่างถูกต้อง
1848