Page 1916 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1916
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
2. โครงการวิจัย การศึกษาการจัดการธาตุอาหาร ดิน ปุ๋ยและโลหะหนัก ที่มีความเฉพาะ
เจาะจงกับลักษณะดิน
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนักในดิน พืชและคุณภาพดินในแหล่ง
ปลูกพืชเศรษฐกิจ
Study of Heavy Metals Contamination in Soil, Plants and
Soil Quality in Economic Crop’s Growing Areas
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน วนิดา โนบรรเทา ศราริน กลิ่นโพธิกลับ 1/
สุรสิทธิ์ อรรถจารุสิทธิ์ ณัฐพงศ์ ศรีสมบัติ 1/
1/
1/
แววตา พลกุล อนันต์ ทองภู 1/
สายน้ำ อุดพ้วย 1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนักในดิน พืชและคุณภาพดินในแหล่งปลูกพืชเศรษฐกิจ
ดำเนินการในปี 2554 - 2557 โดยสำรวจเก็บตัวอย่างดิน มันสำปะหลังและข้าวโพดฝักอ่อน ในพื้นที่
ทำการเกษตรของจังหวัดนครราชสีมา กำแพงเพชร กาญจนบุรี นครปฐม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และ
มหาสารคาม มาวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในดิน พืช (มันสำปะหลังและข้าวโพดฝักอ่อน) และสมบัติ
พื้นฐานต่างๆ ของดิน พบว่า ปริมาณแคดเมียมและตะกั่วในดินปลูกมันสำปะหลังพบในช่วง 0.01 - 0.6
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 2.4 - 24.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งปริมาณที่ตรวจพบดังกล่าวต่ำกว่าค่าพื้นฐาน
ของแคดเมียมและตะกั่วในดินของประเทศไทยและเกณฑ์มาตรฐานที่อนุญาตให้พึงมีในดินทำการเกษตร
ของกลุ่มสมาพันธ์ยุโรป (แคดเมียม 1 - 3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และตะกั่ว 100 - 300 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
สำหรับความเข้มข้นของแคดเมียมในมันสำปะหลังพบในปริมาณแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เฉลี่ยอยู่ในช่วง
0.08 - 0.33 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานความเข้มข้นสูงสุดที่อนุญาตให้พึงมี
ในพืชอาหารของ Codex ที่กำหนดไว้ที่ 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะเห็นว่าความเข้มข้นของแคดเมียม
ในมันสำปะหลังในบางจังหวัดเกินมาตรฐานดังกล่าว และเมื่อเทียบความเข้มข้นของแคดเมียมในตัวอย่าง
มันสำปะหลังกับมาตรฐานของประเทศจีน ที่กำหนดปริมาณการปนเปื้อนของแคดเมียมในมันสำปะหลัง
ไว้ที่ 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จะเห็นว่าตัวอย่างมันสำปะหลังที่เก็บจากทุกจังหวัด มีความเข้มข้นของ
แคดเมียมเกินมาตรฐานของประเทศจีน ส่วนความเข้มข้นของตะกั่วในตัวอย่างมันสำปะหลัง (0.06 - 2.90
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) มีความเข้มข้นสูงกว่ามาตรฐานของ Codex และของประเทศจีน ดังนั้นพื้นที่ปลูก
มันสำปะหลังที่มีความเสี่ยง ควรมีการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันและลดการ
ปนเปื้อนของตะกั่วในมันสำปะหลัง
___________________________________________
1/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
1849