Page 1917 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1917

สำหรับดินปลูกข้าวโพดฝักอ่อนในจังหวัดนครปฐมและกาญจนบุรี พบแคดเมียมอยู่ระหว่าง

                       0.4 - 0.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และตะกั่ว 19.6 - 48.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งปริมาณของแคดเมียม

                       และตะกั่วต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่อนุญาตให้พึงมีในดินทำการเกษตรของกลุ่มสมาพันธ์ยุโรป ขณะที่
                       ความเข้มข้นของแคดเมียมในข้าวโพดฝักอ่อน (น้ำหนักแห้ง) พบระหว่าง 0.13 - 0.22 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                       ตะกั่ว nd.-0.23 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งความเข้มข้นของแคดเมียม และตะกั่ว ในข้าวโพดฝักอ่อน
                       (ส่วนที่บริโภค) มีความเข้มข้นต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่อนุญาตให้พึงมีในพืชอาหารของ Codex

                              จากการประเมินคุณภาพดิน โดยใช้ความอุดมสมบูรณ์ของดินและระดับความเป็นประโยชน์ของ

                       จุลธาตุอาหารพืชในดิน มาเป็นดัชนีในการประเมิน พบว่า ดินปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดกำแพงเพชร
                       มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ส่วนในจังหวัดกาญจนบุรีและนครราชสีมา ความอุดมสมบูรณ์ของดินปลูกมัน

                       สำปะหลัง อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับแมงกานีสที่เป็นประโยชน์ในดิน มีปริมาณพอเพียงกับความ

                       ต้องการของพืช ขณะที่จุลธาตุพวกเหล็ก ทองแดง และสังกะสี ที่เป็นประโยชน์ในดินปลูกมันสำปะหลัง
                       ในจังหวัดกำแพงเพชร กาญจนบุรี และ นครราชสีมา มีในปริมาณที่ไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช

                       ดังนั้นหากพืชที่ปลูกมีความไวต่อการขาดจุลธาตุดังกล่าว จะทำให้พืชแสดงอาการขาดได้ ส่วนคุณภาพดิน
                       ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนในจังหวัดนครปฐมและกาญจนบุรี มีความอุดมสมบูรณ์อยู่ในระดับปานกลาง จุลธาตุ

                       อาหารพืช มีในปริมาณที่พอเพียงกับความต้องการของพืช ยกเว้นดินปลูกข้าวโพดฝักอ่อนในจังหวัดกาญจนบุรี

                       ที่มีปริมาณเหล็กที่เป็นประโยชน์ในดินไม่พอเพียงกับความต้องการของพืช
                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              ใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดเกณฑ์พื้นฐานของปริมาณโลหะหนักในดิน ในพื้นที่การเกษตรของประเทศ
                       ตลอดจนเป็นข้อมูลทางวิชาการเพื่อใช้ป้องกันไม่ให้ดินเสื่อมโทรม เนื่องจากการปนเปื้อนของโลหะหนัก

                       ตลอดจนวางแผนในการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังในพื้นที่มีความเสี่ยง เพื่อการแก้ไขปัญหาการ

                       ปนเปื้อนของโลหะหนักในดินและผลิตผลของพืชต่อไป







































                                                          1850
   1912   1913   1914   1915   1916   1917   1918   1919   1920   1921   1922