Page 1918 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 1918
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
2. โครงการวิจัย การศึกษาการจัดการธาตุอาหาร ดิน ปุ๋ย และโลหะหนักที่มีความเฉพาะ
เจาะจงกับลักษณะดิน
3. ชื่อการทดลอง ศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนักในดินโดยวิธียับยั้งการละลาย
The Study of Remediation Treatments in Heavy Metal
(Cadmium) Contaminated Soil
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน วริศ แคนคอง สุรสิทธิ์ อรรถจารุสิทธิ์ 1/
วนิดา โนบรรเทา ศราริน กลิ่นโพธิ์กลับ 1/
1/
อนันต์ ทองภู 1/
5. บทคัดย่อ
จากการสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับการปนเปื้อนของธาตุโลหะหนักและธาตุกึ่งโลหะในประเทศไทย
พบว่า ธาตุแคดเมียม ทองแดง และสังกะสี เป็นโลหะหนักที่สะสมอยู่ในดินและผลผลิตของพืชค่อนข้างสูง
อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพของดิน และคุณภาพของผลผลิตพืชที่เป็นอาหาร จำเป็นต้องศึกษาการปนเปื้อน
ของโลหะหนักในดินโดยวิธียับยั้งการละลาย เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติในการแก้ไขและบำบัดดินที่ปนเปื้อน
จากโลหะหนักโดยเฉพาะแคดเมียม การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ทดลองในห้องปฏิบัติการ
ทดลองในโรงเรือน และการทดลองในแปลง ผลทดลองในห้องปฏิบัติการจากการบ่มดินที่มีการปนเปื้อน
แคดเมียมด้วยสารยับยั้งการละลายชนิดต่างๆ เป็นเวลา 40 วัน พบว่าปริมาณแคดเมียมรูปที่แลกเปลี่ยนได้
และรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ได้มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการใช้แมกนีเซียมออกไซด์
อัตรา 900 กิโลกรัมต่อไร่ มีปริมาณแคดเมียมทั้งรูปที่แลกเปลี่ยนได้และรูปที่พืชดูดใช้ได้น้อยกว่ากรรมวิธีอื่น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การทดลองในสภาพโรงเรือนโดยปลูกข้าวเป็นพืชทดลอง พบว่า การใส่สารยับยั้งการละลายมีผล
ทำให้ปริมาณแคดเมียมในฟางข้าว เมล็ด และแกลบมีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยกรรมวิธี
MgO 2,700 กิโลกรัมต่อไร่ มีแนวโน้มแคดเมียมน้อยกว่ากรรมวิธีอื่นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในเมล็ด
ซึ่งเป็นส่วนที่นำไปใช้เป็นอาหารมีค่าเท่ากับ 0.85 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่า
มาตรฐาน CODEX ของปริมาณแคดเมียมในอาหารพบว่าเกินกว่ามาตรฐาน (0.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
การทดลองในแปลงปีที่ 1 ที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาการปนเปื้อนของแคดเมียม
ปลูกข้าวเป็นพืชทดลอง วางแผนการทดลองแบบ RCBD 4 กรรมวิธี 5 ซ้ำ ประกอบด้วย กรรมวิธีควบคุม
MgO 2,700 กิโลกรัมต่อไร่ หินฟอสเฟต 1,600 กิโลกรัมต่อไร่ + ปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต และหิน
ฟอสเฟต 4,800 กิโลกรัมต่อไร่ + ทริบเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต 480 กิโลกรัมต่อไร่ พบว่าการใส่สารยับยั้งการ
ละลาย มีผลทำให้ปริมาณแคดเมียมในฟางข้าว ราก เมล็ด และแกลบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
___________________________________________
1/ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
1851