Page 2060 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2060

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
                       2. โครงการวิจัย             การผลิตไบโอเอทานอลจากชีวมวลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ

                       3. ชื่อการทดลอง             การถ่ายฝากยีนเพื่อยับยั้งขบวนการสร้างลิกนินในพืช

                                                   Transformation Gene Involved in Lignin Biosynthetic Pathway
                                                   in Plants

                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ภุมรินทร์ วณิชชนานันท์       สุภาวดี ง้อเหรียญ 1/
                                                                       1/
                                                   อัจฉราพรรณ ใจเจริญ           หทัยรัตน์ อุไรรงค์ 1/
                                                                     1/
                       5. บทคัดย่อ

                              การถ่ายฝากยีนเพื่อยับยั้งขบวนการสร้างลิกนินให้มีปริมาณลิกนินต่ำเพื่อการผลิตไบโอเอทานอล

                       โดยศึกษาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการชักนำใบอ่อนของหญ้าเนเปียร์พันธุ์ปากช่อง 1 ให้เกิดแคลลัส
                       และยอด นำมาทดสอบบนสูตรอาหาร จำนวน 9 สูตร ประกอบด้วย สูตรอาหาร MS ที่มีการเติม 2,4-D

                       ความเข้มข้น 0.5 หรือ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0.5 หรือ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ
                       BA ความเข้มข้น 0.5 หรือ 1 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยทุกสูตรอาหารประกอบด้วย น้ำมะพร้าว 50 มิลลิลิตร

                       พบว่า สูตรอาหาร MS ที่มีน้ำมะพร้าวอ่อน 50 มิลลิลิตรต่อลิตร ร่วมกับ 2,4-D ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัม
                       ต่อลิตร NAA ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัมต่อลิตร และ BA ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้เกิด

                       compact callus สีขาว ที่สามารถนำไปใช้ในการถ่ายยีนได้ การเลือกใช้แคลลัสของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1

                       มาถ่ายยีนโดยวิธี Leaf disc โดยใช้ A. tumefaciens ในขั้นตอนของอาหารสำหรับการคัดเลือกร่วมกับ
                       สารปฏิชีวนะที่เติม Kanamycin ความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อลิตร และสารปฏิชีวนะ Cefotaxime

                       ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อลิตร ไม่สามารถกำจัดเชื้ออะโกรแบคทีเรียมได้ และมีผลทำให้เนื้อเยื่อ

                       แคลลัสตาย เมื่อเปลี่ยนมาใช้ชิ้นส่วนใบยาสูบ อาหารสำหรับการคัดเลือกดังกล่าว สามารถชักนำให้
                       ชิ้นส่วนใบยาสูบที่ได้รับการถ่ายยีนเกิดต้นใหม่ได้

                       6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์

                              เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปพัฒนาด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช โดยการถ่ายฝากยีนให้พืชมีลักษณะ
                       ที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ในการผลิตพลังงานทดแทนต่อไป

















                       ___________________________________________

                       1/ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ


                                                          1993
   2055   2056   2057   2058   2059   2060   2061   2062   2063   2064   2065