Page 2063 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2063
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
2. โครงการวิจัย การผลิตไบโอเอทานอลจากชีวมวลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
3. ชื่อการทดลอง การทดสอบพืช/สาหร่ายนำเข้าจากต่างประเทศที่เหมาะสมสำหรับ
ผลิตไบโอเอทานอลเทียบกับพืชท้องถิ่น
Renewable Energy Plants/Algae Imported from Abroad
Testing for the Production of Bio - Ethanol with Native plants
4. คณะผู้ดำเนินงาน รุ่งนภา พิทักษ์ตันสกุล นัยเนตร เจริญสันติ ทานากะ 1/
1/
1/
ภรณี สว่างศรี บุญเรือนรัตน์ เรืองวิเศษ 1/
หทัยรัตน์ อุไรรงค์ 1/
5. บทคัดย่อ
การทดลองนี้ได้ทำการศึกษาการทดสอบพืชและสาหร่ายชีวมวลในประเทศไทยเพื่อทดแทน
พืชพลังงานเปรียบเทียบกับสาหร่ายนำเข้าจากต่างประเทศที่เหมาะสมสำหรับผลิตไบโอเอทานอล โดยเริ่ม
ดำเนินการตั้งแต่ปี 2557 - 2558 รวบรวมชนิดพืช/สาหร่ายที่มีศักยภาพในการผลิตเอทานอลจำนวน 6 ชนิด
ได้แก่ ต้นเลา หญ้าเนเปียร์ (ขอนแก่น) หญ้าคิงเนเปียร์ (ปากช่อง 1) อ้อยพลังงาน (ลูกผสม KJ) สาหร่าย
Chlorella pyrenoidosa (ADOA4) เปรียบเทียบกับ Chlorella sp. (J1) จากประเทศญี่ปุ่น ทำการ
Pre - treatment ของพืช 4 ชนิด ส่วนสาหร่าย 2 สายพันธุ์ ไม่ได้ Pre - treatment จากนั้นทดสอบ
การย่อยโดยกระบวนไฮโดรไลซิสด้วยเอนไซม์เซลลูเลสและไซแลนเนสที่ความเข้มข้น 15 FPU/g substrate
เพื่อย่อยให้เป็นน้ำตาลรีดิวซ์ พบว่าสาหร่ายขนาดเล็กที่ไม่ผ่านการ Pre - treatment มีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์
สูงที่สุดในวันที่ 9 มีค่าเท่ากับ 4,236.25 มิลลิกรัมต่อลิตร รองลงมาคือ Chlorella sp. (J1) มีปริมาณ
น้ำตาลรีดิวซ์สูงสุดในวันที่ 8 มีค่าเท่ากับ 2,874.25 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีค่าไม่แตกต่างจากหญ้าคิงเนเปียร์
ปากช่อง 1 มีค่าเท่ากับ 2,814.63 มิลลิกรัมต่อลิตร รองลงมาคือ ต้นเลา หญ้าคิงเนเปียร์ (ขอนแก่น) และ
อ้อยพลังงาน ตามลำดับ และนำตัวอย่างช่วงวันที่ 6 - 9 ที่มีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงไปทดสอบกระบวนการ
หมักด้วยยีสต์ ในสภาพไร้ออกซิเจนเป็นระยะเวลา 5 วัน พบว่า Chlorella pyrenoidosa (ADOA4)
มีการย่อยสลายเป็นน้ำตาลกลูโคสได้เร็วที่สุด ในวันที่ 2 มีค่าน้ำตาลกลูโคสสูงสุด เท่ากับ 2.284 มิลลิกรัม
ต่อมิลลิลิตร รองลงมาคือ Chlorella sp. (J1) หญ้าคิงเนเปียร์ (ปากช่อง 1) หญ้าเนเปียร์ (ขอนแก่น)
ต้นเลา และ อ้อยพลังงาน (ลูกผสม KJ) ตามลำดับ
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
1996