Page 2061 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2061
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
2. โครงการวิจัย วิจัยการผลิตไบโอเอทานอลจากชีวมวลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
3. ชื่อการทดลอง ผลของการถ่ายฝากยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึม
ของน้ำตาลซูโครสในสาหร่าย Chlamydomonas reinhardtii
สำหรับการผลิตเอทานอล
Transformation of Genes Involved Sucrose Metabolism in
Chlamydomonas reinhardtii for Ethanol Production
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน อรุโณทัย ซาววา สุภาวดี ง้อเหรียญ 1/
รุ่งนภา พิทักษ์ตันสกุล หทัยรัตน์ อุไรรงค์ 1/
1/
ศรีเมฆ ชาวโพงพาง 2/
5. บทคัดย่อ
Chlamydomonas reinhardtii คือ สาหร่ายสีเขียวเซลล์เดียว เป็นเทคโนโลยีชีวภาพ
ที่ถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบและผลิตภัณฑ์ มีคุณสมบัติโตเร็ว เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตโดยการสังเคราะห์แสง
เพียงอย่างเดียว สามารถสะสมคาร์โบไฮเดรตไว้ในเซลล์ซึ่งสามารถนำมาเป็นชีวมวลได้ การทดลองนี้
จึงศึกษาผลของการถ่ายฝากยีนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมตาบอลิซึมของน้ำตาลซูโครส ได้แก่ ยีน
Sucrose synthase (SUS) เพื่อใช้เป็นสาหร่ายชีวมวล ทำการสร้างเวคเตอร์สำหรับถ่ายยีน SUS ให้ได้
ดีเอ็นเอสายผสมที่อยู่ในเวคเตอร์ pChlamy3 มีขนาด 6947 เบส เพื่อถ่ายยีนเข้าสาหร่าย พบว่า ได้สาหร่าย
Chlamydomonas reinhardtii C.137 ที่ได้รับการถ่ายยีน SUS (C.137+SUS) จำนวน 1 ไอโซเลต
นำมาเปรียบเทียบค่าเปอร์เซ็นต์ความหวานและน้ำหนักแห้งระหว่างสาหร่าย C.137+SUS กับสาหร่าย
คู่เทียบ C.137 ที่เลี้ยงไว้ 4 8 และ 12 วัน พบว่า ค่าความหวานใน C.137 มีค่ามากกว่า C.137+SUS
และแตกต่างกันทางสถิติ แต่ค่าความหวานไม่แตกต่างกันในช่วง 4 - 12 วัน ค่าเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง
พบว่า เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งใน C.137 มีค่ามากกว่า C.137+SUS และความแตกต่างกันทางสถิติ และไม่มี
ความแตกต่างกันในช่วง 4 - 12 วัน แต่เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อจำนวนวันมากขึ้น
ทั้งนี้อาจเพราะเซลล์สาหร่ายมีการเจริญเติบโตได้ตลอดช่วงระยะเวลา 4 - 12 วัน อย่างไรก็ตามผลการ
ตรวจสอบค่าความหวานและเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งที่ได้ แสดงให้เห็นว่าสาหร่ายที่ได้รับการถ่ายยีน
มีลักษณะที่ด้อยกว่าที่ไม่ได้รับการถ่ายยีน ดังนั้นการทดลองนี้จึงไม่ได้ทำการทดสอบปริมาณน้ำตาลและ
ปริมาณแอลกอฮอล์
___________________________________________
1/ สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
2/ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1994