Page 2066 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2066
รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558
1. ชุดโครงการวิจัย ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
2. โครงการวิจัย การผลิตไบโอเอทานอลจากชีวมวลโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
3. ชื่อการทดลอง การพัฒนาเครื่องมือแปรสภาพชีวมวลในกระบวนการย่อยสลาย
Development of Shredders Machines in the Biomass
Decomposition Process
1/
4. คณะผู้ดำเนินงาน วุฒิพล จันทร์สระคู พินิจ จิรัคคกุล 1/
1/
มงคล ตุ่นเฮ้า กลวัชร ทิมินกุล 1/
5. บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเครื่องจักรกลต้นแบบให้สามารถใช้ในการ
แปรสภาพชีวมวลในขบวนการผลิตเอทานอลให้มีประสิทธิภาพ ทำการออกแบบและสร้างต้นแบบ
เครื่องมือแปรสภาพชีวมวลสำหรับผลิตเอทานอล ได้แก่ เครื่องหั่นย่อยเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
และพืชพลังงาน ที่มีคุณสมบัตินำไปผลิตเอทานอลได้ เช่น ทะลายปาล์ม หญ้าเนเปียร์ ต้นเลา และ
อ้อยพลังงาน ทดสอบและประเมินผลเครื่องต้นแบบ หาสมรรถนะและประสิทธิภาพการทำงาน ผลการ
ทดลองพบว่า เครื่องต้นแบบควรใช้ความเร็วรอบในการทำงาน 1,400 รอบต่อนาที มีความสามารถเชิงวัสดุ
126.27 กิโลกรัมต่อชั่วโมง แปรสภาพวัสดุให้มีขนาด 2.58 - 4.76 มิลลิเมตร คิดเป็น 29.33 เปอร์เซ็นต์
และสามารถแปรสภาพวัสดุให้มีขนาดเล็กที่สุด 2.58 มิลลิเมตร คิดเป็น 28.82 เปอร์เซ็นต์ เครื่องหั่นย่อย
แบบสองใบมีดที่พัฒนาขึ้น ใช้ต้นกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า 220 โวลต์ สามารถป้อนวัสดุ
ได้สะดวกและปลอดภัย เคลื่อนย้ายได้โดยมีล้อเหล็กเลื่อน สามารถทำการแปรสภาพวัสดุพืชชีวมวล
ที่มีสภาพแห้งได้ดีกว่าสภาพวัสดุที่สดหรือมีความชื้นสูง เพราะฉะนั้นก่อนการหั่นย่อยแปรสภาพวัสดุ
ต้องทำการตากแดดให้แห้งก่อนเสมอ
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
1. ได้ต้นแบบเครื่องมือที่ช่วยในขบวนการย่อยสลาย เช่น เครื่องลดขนาดวัสดุ เครื่องมือแปรสภาพ
2. ได้เครื่องจักรกลต้นแบบที่ช่วยในการผลิตไบโอเอทานอลจากชีวมวล
3. นำเครื่องมือไปย่อยวัสดุ/พืชเหลือใช้ เพื่อขบวนการหมักเอทานอล
4. สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลการวิเคราะห์ในการเตรียมวัตถุดิบในการผลิตไบโอเอทานอล
___________________________________________
1/ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมขอนแก่น
1999