Page 2102 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2102

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558




                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการเพิ่มมูลค่าผลผลิต
                       2. โครงการวิจัย             วิจัยและพัฒนาบรรจุภัณฑ์

                       3. ชื่อการทดลอง             การผลิตโพลิเมอร์ชีวภาพจากจุลินทรีย์

                                                   Production of Biopolymer from Cyanobacteria
                                                                 1/
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          ประยูร เอ็นมาก               ศิริพร เต็งรัง 1/
                                                                1/
                                                   โกเมศ สัตยาวุธ               ศุภมาศ กลิ่นขจร 1/
                                                   กนกศักดิ์ ลอยเลิศ 1/
                       5. บทคัดย่อ

                              โพลีเมอร์ชีวภาพชนิดโพลีเบต้าไฮดรอคซีบิวไทเรต (Poly-β-hydroxybutyrate) เป็นโพลีเมอร์

                       ที่เกิดจากการสะสมสารประกอบคาร์บอนสำหรับใช้เป็นแหล่งคาร์บอนหรือแหล่งพลังงานสำรองภายใน
                       แกรนูลของเซลล์จุลินทรีย์หรือไซยาโนแบคทีเรีย อันเนื่องมาจากสภาวะที่ไม่สมดุลของสารอาหารหรือ

                       สภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของเซลล์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตโพลีเมอร์
                       ชีวภาพจากจุลินทรีย์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการนำไปพัฒนาเป็นพลาสติกชีวภาพ โดยทำการเก็บตัวอย่าง

                       ไซยาโนแบคทีเรียจากแหล่งน้ำธรรมชาติโดยใช้ตาข่ายแพลงก์ตอนที่มีขนาดตา 20 ไมโครเมตร และการ
                       เก็บตัวอย่างจากรากคอรัลลอยด์ของปรง แล้วนำมาคัดแยกโดยใช้ไมโครปิเปตภายใต้กล้องจุลทรรศน์

                       เพื่อให้ได้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ ไซยาโนแบคทีเรียที่คัดแยกจนได้สายพันธุ์ที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาตรวจสอบ

                       ปริมาณการสะสมของโพลีเมอร์ชีวภาพไว้ภายในเซลล์ด้วยการย้อมสีซูดานแบลคบี พบว่าไอโซเลท SM6 - 3
                       เป็นสายพันธุ์ที่คัดแยกได้จากรากคอรัลลอยด์ของปรงในสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ กรุงเทพมหานคร

                       มีปริมาณโพลีเมอร์สะสมในเซลล์สูงที่สุด เนื่องจากย้อมติดสีน้ำเงินเข้มทั่วทั้งเซลล์ จากการเปรียบเทียบ

                       ลักษณะทางสัณฐานวิทยาพบว่าเป็นไซยาโนแบคทีเรียในกลุ่มของ Nostoc sp. เมื่อนำไปเพาะเลี้ยง
                       ในอาหารเหลว BG - 11 สูตรปกติและสูตรที่ไม่เติมไนโตรเจน (N  - free medium) ใช้แสงจากหลอด
                                                                             2
                       ฟลูออเรสเซนต์และแสงแดดที่มีการเติมอากาศอย่างต่อเนื่อง ผลการทดลองพบว่า อาหารเหลวทั้งสองสูตร

                       ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของไอโซเลท SM6 - 3 แต่การเพาะเลี้ยงโดยใช้แสงแดดจะมีการเจริญเติบโต
                       ได้เร็วกว่าแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนส์ โดยมีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดเท่ากับ 9.96 x 10  เซลล์ต่อ
                                                                                                    6
                       มิลลิลิตร เมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 18 วัน ได้ผลผลิตชีวมวลเท่ากับ 1.69 กรัมต่อลิตร เมื่อทำการเก็บเกี่ยว
                       เซลล์ด้วยวิธีการปั่นเหวี่ยงด้วยเครื่องแยกกากอัตโนมัติแล้วนำชีวมวลมาสกัดโพลีเมอร์ชีวภาพออกจาก

                       เซลล์และหาปริมาณโพลีเบต้าไฮดรอคซีบิวไทเรต (Poly-β-hydroxybutyrate, PHB) โดยการใช้ปฏิกิริยา

                       Acid hydrolysis และวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 235 นาโนเมตร พบว่ามีปริมาณโพลีเบต้า
                       ไฮดรอคซีบิวไทเรต (PHB) เท่ากับ 0.33 กรัมต่อลิตร ซึ่งมีปริมาณที่สูงกว่าเพาะเลี้ยงด้วยอาหาร BG - 11

                       สูตรปกติ


                       _______________________________________________

                       1/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร


                                                          2035
   2097   2098   2099   2100   2101   2102   2103   2104   2105   2106   2107