Page 2107 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2107
ส่วนอัตราการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจน (OTR) ของฟิล์มอยู่ในช่วง 1.33 - 4.29 ตารางเซนติเมตรต่อ
ตารางเมตรต่อวัน โดยฟิล์มที่มีอัตราส่วนของแป้ง : ไคโตซาน 1 : 0 มีค่า OTR ต่ำสุด และที่อัตราส่วน
1 : 1 มีค่า OTR สูงสุด จากนั้นนำไปทดสอบศักยภาพการประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ต้านจุลินทรีย์
เนื่องจากไคโตซานมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียได้ และฟิล์มมีค่า a และมีค่า OTR ต่ำ ซึ่งแบคทีเรีย
w
เกือบทุกชนิดไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งผลจากการทดสอบกับจุลินทรีย์ Aspergillus flavus A39
พบว่าไม่พบการเกิด clear zone เนื่องจากไม่พบสารยับยั้งแพร่ออกมาจากแผ่นฟิล์ม และไม่พบการเกิด
เชื้อราบนแผ่นฟิล์ม แต่ทั้งนี้ลักษณะการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียไม่จำเป็นต้องเป็น clear zone มีต้นทุนการ
ผลิตอยู่ในช่วง 0.02 - 0.50 บาทต่อแผ่น ขึ้นอยู่กับราคามันสำปะหลัง โดยอัตราส่วนของแป้งมันสำปะหลัง
ต่อไคโตซานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับนำไปพัฒนาต่อ คือ 1 : 0.6 เนื่องจากให้ฟิล์มที่มีคุณสมบัติดีไม่แตกต่าง
อย่างมีนัยสำคัญกับฟิล์มที่อัตราส่วนอื่นๆ ที่ให้คุณสมบัติดีที่สุด
6. การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
พัฒนาต่อ
2040