Page 2112 - บทคดยอการทดลองสนสด 58 สมบรณ_Neat
P. 2112

รายงานผลการทดลองสิ้นสุด ปี 2558



                       1. ชุดโครงการวิจัย          วิจัยและพัฒนาการเพิ่มมูลค่าผลผลิต

                       2. โครงการวิจัย             การประเมินคุณภาพผลผลิตและผลิตภัณฑ์โดยใช้เทคนิคการไม่ทำลาย
                                                   ตัวอย่าง

                       3. ชื่อการทดลอง             การประเมินคุณภาพแป้งในพืชไร่ชนิดต่างๆ โดยใช้เทคนิคการไม่ทำลาย
                                                   ตัวอย่าง ด้วย Near Infrared Spectroscopy

                                                   Evaluation of Qualities in Field Crops by Using Near Infrared

                                                   Spectroscopy
                       4. คณะผู้ดำเนินงาน          อนุวัฒน์  รัตนชัย 1/         นฤเทพ  เวชภิบาล 1/

                                                   จารุวรรณ  บางแวก 1/

                       5. บทคัดย่อ
                              คุณภาพของผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตร เช่น ปริมาณแป้ง โปรตีน ไขมัน น้ำตาล และอื่นๆ

                       เป็นลักษณะสำคัญที่บ่งบอกถึงคุณภาพของผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภค วัตถุประสงค์ของ

                       งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการนำเทคนิคเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโคปี ซึ่งเป็นเทคนิคที่ไม่ทำลายตัวอย่าง
                       ใช้เวลาสั้น ไม่ใช้สารเคมีในการประเมิน มาใช้ในการประเมินคุณภาพแป้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ความหนืด

                       น้ำตาล และแคโรทีนอยด์ ในพืชไร่ชนิดต่างๆ โดยนำตัวอย่างเมล็ดถั่วเหลืองจากศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่
                       ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี เมล็ดถั่วเขียวจากศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เมล็ดข้าวโพดจากศูนย์วิจัย

                       พืชไร่นครสวรรค์ และจากแหล่งจำหน่ายต่างๆ นำเมล็ดถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพดพันธุ์ต่างๆ และพืชไร่

                       อื่นๆ สแกนด้วยเครื่อง Near Infrared Spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 800 - 2500 นาโนเมตร
                       ได้สเปคตรัมของเมล็ดและแป้งถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพด และพืชไร่ชนิดต่างๆ วิเคราะห์โปรตีน

                       คาร์โบไฮเดรต ความหนืด น้ำตาลและแคโรทีนอยด์ ที่กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
                       และแปรรูปผลิตผลเกษตร ระหว่างปี 2554 - 2558 ค่าความคลาดเคลื่อนของการประเมิน หาสมการ

                       ถดถอยเชิงสมการเส้นด้วยเทคนิค Partial Least Square Regression โดยใช้โปรแกรม the Unscrambler

                       จากการทดลองพบว่า การสร้างสมการประเมินค่าโปรตีนของเมล็ดและแป้งฟลาวถั่วเหลือง เมล็ดและ
                       แป้งฟลาวถั่วเขียว สมการมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) = 0.85  0.95  0.85 และ 0.85 ตามลำดับ

                       ค่าความคลาดเคลื่อนในการประเมิน (SEP) = 1.13  0.71  0.61 และ 0.65 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ต่ำกว่า

                       ค่าความคลาดเคลื่อน (SD) = 2.14  2.47  1.17 และ 1.12 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การสร้างสมการ
                       ประเมินค่าคาร์โบไฮเดรตของเมล็ดและแป้งฟลาวถั่วเหลือง เมล็ดและแป้งฟลาวถั่วเขียว สมการมีค่า

                       สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) = 0.86  0.96  0.88 และ 0.89 ตามลำดับ ค่า SEP = 2.14  1.97  1.80 และ

                       1.84 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ต่ำกว่าค่าความคลาดเคลื่อน (SD) = 4.96  3.89  3.92 และ 4.16 เปอร์เซ็นต์
                       ตามลำดับ การสร้างสมการประเมินค่าความหนืดสูงสุดของเมล็ดถั่วเหลืองและแป้งฟลาวถั่วเหลือง

                       _______________________________________________
                       1/ กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร



                                                           2045
   2107   2108   2109   2110   2111   2112   2113   2114   2115   2116   2117